26.6.10

Blog TV: เอกอัครราชทูตควินตัน เควลย์ บอกหวังให้อังกฤษเป็นแชมป์บอกโลก 2010





คลิ๊กชม Blog TV สัมภาษณ์เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย


พออังกฤษเข้ารอบสองฟุตบอลโลก 2010 ดิฉันก็ได้สัมภาษณ์ท่านทูตควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ว่าตั้งความหวังไว้สูงขนาดไหน

แถมยังได้ไปเห็น รถ "Mini Cooper" รุ่นล่าสุด ที่บริษัทให้ท่านทูตยืมมาใช้ช่วงแข่งบอลโลก รถคันนี้ท่านทูตควินตัน ขับไปเชียร์ที่ผับ "Londoner" คืนวันที่ 23 มิถุนายน วันที่อังกฤษ แข่งกับ สโลเวเนีย แล้วชนะไปได้ 1-0 ค่ะ

เจ้า Mini คันนี้ จะได้อยู่กับท่านทูตไปจนกว่าอังกฤษจะตกรอบ

ประวัติรถ Mini ไม่ธรรมดานะคะ ถือได้ว่าเป็นรถต้นแบบของยุค 1960s ผลงานของนักออกแบบอังกฤษ Sir Alec Issigonis เพื่อแข่งกับรถ Volkswagen Beetle ของเยอรมนี (นอกจากจะแข่งกันในสงคราม การออกแบบรถ แล้วยังแข่งกันเรื่องบอลด้วย ระหว่างอังกฤษและเยอรมนี)

Mini ขึ้นชื่อเรื่องพื้นที่ใช้สอยกว้างขวาง จุคนนั่งได้มากและใส่กระเป๋าเดินทางได้ในช่วงที่วางเท้า (จากที่ได้สัมผัสรถหรูคันนี้ สมคำร่ำลือจริงๆ เรื่องความกว้าง และความแน่นของเครื่อง และความแข็งแกร่งของตัวถัง)


โรงงานผลิตหลักมินิอยู่ที่เมือง Longbridge และ Cowley, Oxfordshire ของอังกฤษค่ะ แต่เจ้าของก็คือ BMW ไปแล้วค่ะ

21.6.10

blog tv: สื่อสังคม กับรางวัลสื่อภาคสนาม 2010





ช่วงวิกฤตความขัดแย้งกับเหตุปะทะและเหตุจลาจล โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ได้เห็นการทำงานของผู้สื่อข่าวภาคสนาม เกาะติดสถานการณ์และรายงานผ่านการส่งข้อความสั้นๆ "ทวิตเตอร์" เป็นมิติใหม่ของการรายงานผ่าน "social media"

นิตยสาร PC World เห็นคุณค่าของการทำงานในครั้งนี้ และได้ให้รางวัลแก่สำนักข่าว และผู้สื่อข่าวที่ใช้สื่อสังคม กับการรายงานครั้งนี้ค่ะ

@nnanews: Nation News Agency ได้รางวัลสำนักข่าวยอดเยี่ยม
@ThaiPBS : สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ได้รางวัลสำนักข่าวดีเด่น
@news1005fm :คลื่นข่าว fm 100.5 ได้รางวัลสำนักข่าวดีเด่น
@noppatjak : นภพัฒน์จักษณ์ อัตตนนท์ ผู้สื่อข่าวเครือเนชั่น ได้รางวัลนักข่าวผลงานดีเด่น

ขอบคุณผู้บริหาร PC World กับการมอบรางวัลค่ะ

ขอแสดงความยินดีกับทีมข่าวภาคสนามทุกท่าน ทุกสำนักข่าวค่ะ โดยเฉพาะกับการเปิดโลกการใช้ social media และจะมีก้าวต่อๆไปในอนาคต

19.6.10

15 ปี ใน 21 ปี ที่ไร้อิสระภาพของ "อองซาน ซูจี"


15 ปีที่ต้องถูกคุมขัง ตลอด 21 ปีที่ผ่านมา และจะอีกนานเท่าไร

ไม่รู้จะอีกนานเท่าไร ที่ทั่วโลกจะต้องจัดงานฉลองให้กับออง ซาน ซูจี สัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า โดยที่เจ้าตัวไม่มีโอกาสได้ร่วมรับรู้ว่าชาวโลกจัดงานฉลองให้เธออย่างไร
19 มิถุนายน 2553 ครบรอบวันคล้ายวันเกินปีที่ 65 ของออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านผู้แข็งแกร่งของพม่า แม้ซูจี จะถูกคุมขังภายในบ้านพักของเธอที่กรุงย่างกุ้งเกือบ 15 ปีเต็ม ในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา พลังของอองซาน ซู จี ในฐานะผู้นำที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของพม่ายังคงอยู่ และเป็นที่จดจำของผู้คนทั่วโลกในฐานะผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ National League for Democracy (NLD) ที่นำพาพรรคชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อปี 2533 และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ได้ครองเสียงถึง 394 จาก 492 ที่นั่ง แต่ซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน ลูกสาวนายพลอองซาน วีรบุรุษของคนพม่า กลับต้องถูกคุมขังภายในบ้านพักของตนเอง ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งด้วยซ้ำ และผลการเลือกตั้งถูกประกาศเป็นโมฆะ

20 ปีเต็มผ่านไป ความยิ่งใหญ่ของพรรค NLD ยุติลงไปแล้ว พร้อมกับการถูกยุบพรรค เมื่อสมาชิกอาวุโสส่วนใหญ่ของพรรคตัดสินใจไม่ร่วมแข่งขันการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ที่รัฐบาลทหารพม่าจะจัดขึ้นในปีนี้ (ที่จนถึงขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีขึ้นเมื่อไร) ซึ่งถือว่าขัดกับรัฐธรรมนูญและต้องถูกยุบพรรคในที่สุด ทุกวันนี้สมาชิกพรรคกว่า 2,000 คนเป็นนักโทษทางการเมือง จำนวนมากถูกคุมขังอยู่ที่คุกอินเส่ง และสมาชิกพรรครุ่นหลังจำนวนหนึ่งตัดสินใจลงเลือกตั้งในนามพรรคใหม่ ทำให้พรรค NLD ณ วันนี้ เหลือเพียงชื่อเท่านั้น

ประเทศเสียงดังทางตะวันตกอย่างสหรัฐ และ อังกฤษ พยายามจัดงานวันคล้ายวันเกิดให้กับซูจี และเปล่งเสียงกดดันรัฐบาลทหารพม่าไปพร้อมๆกันด้วย แต่เสียงเหล่านั้นดูเหมือนจะไม่หนักแน่นเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นจดหมายของอดีตนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ของอังกฤษ ที่บอกว่า “เป็นหน้าที่ของพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นใคร จะต้องร่วมกันต่อสู้เพื่ออิสระภาพของอองซาน ซูจี และเพื่อรักษาประชาธิปไตยต่อไป” หรือเสียงของเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของอังกฤษ ที่ว่าหนึ่งในเป้าหมายหลักของนโยบายต่างประเทศอังกฤษ คือต้องกดดันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพม่า หรือเสียงจากสหประชาชาติที่ดูแลเรื่องการกักขังซูจีโดยเฉพาะ ออกแถลงการณ์ว่า “การกักขังหน่วงเหนี่ยวอองซาน ซูจี เป็นการกระทำตามอำเภอใจ และถือเป็นการริดรอนเสรีภาพ ที่ผิดมาตรการที่ 9, 10, 19 และ 20 ของ ปฏิญญาสากลเรื่องสิทธิมนุษยชน” เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย บอกว่าแคนาดาจะสนับสนุนการต่อสู้ของอองซาน ซูจี ต่อไป และแคนาดาได้คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่าอย่างหนักหน่วงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น
ด้านนโยบายไทย อ.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพม่าบอกว่า แม้รัฐบาลไทยจะดูเหมือนมีแนวทางสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่าด้วยการนำเข้ากาซธรรมชาติอยู่ แต่ประเทศไทยก็อยู่ในจุดที่จะกดดันพม่าได้มากขึ้นในอนาคต และบอกว่าหวังว่าจะได้จับมือกับอองซาน ซูจี เป็นคนแรกถ้าซูจีได้รับการปล่อยตัวและได้เดินทางมาประเทศไทย

ดูเหมือนเสียงจากนานาชาติและเสียงซูจีจะประสานกัน เมื่อซูจี ฝากข้อความในจดหมายที่ต้องลักลอบนำออกไปจากพม่า และเขียนด้วยลายมือของเพื่อนร่วมอุดมการณ์ U Win Tin สะท้อนคำพูดของซูจี และได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ The Independent ของอังกฤษว่า “Please use your liberty to promote ours” (ได้โปรดใช้เสรีภาพที่พวกคุณมี เพื่อส่งเสริมเสรีภาพของคนพม่าด้วย) แต่กีปีแล้วที่ทั้งนานาชาติ และ อองซาน ซูจี ได้แต่เพียงเปล่งเสียง

หวังว่าวันคล้ายวันเกิดปีหน้า อองซาน ซูจี จะไม่ต้องมีคำร้องขอเช่นนี้อีกต่อไป...

16.6.10

Blog TV: Third Part of Interview with Michael Yon

This is the last part of 15-minute interview with Michael Yon. He answered whether Thailand came close to civil war and how he likes to be called "peace correspondent"

Blog TV: Second Part of Interview with Michael Yon

The full interview was broadcast on TPBS on Monday 14th June 2010.

This is the second part of the interview, I asked Michael the extent to which Thailand is different from war zones like Iraq and Afghanistan.

Blog TV: First Part of Interview with Michael Yon

I asked Michael Yon, an independent war correspondent, what he saw during the clashes and riot in Rachaprasong area, the main protest area of the red-shirts.

This is the firt part of the interview.

15.6.10

"Michael Yon" examines Bangkok







First part of my interview with Michael Yon, an independent war correspondent. We walked around Rachprasong on 10th June 2010, the main protest area of the red-shirts, around three weeks after the riot had ended on 19th May, 2010.

Q: This is the first time to see riot places after it has ended, what is your first assessment? M
A: One thing that I ‘ve been am looking for is the evidence of the fighting. During the fighting the army was very controlled of their fires, they used much disciplines, and you can see from the signs from the building not bullet holes in many places, very few, so it means they controlled how they aim.

Q: What would happen to mirror of the department store, if they don’t follow the operation closely?
A: Another thing about troops that are not well-trained, they will shoot high because they don’t know what they are doing, that’s normal, what human will do they will shoot high. From what I have been looking up high there are no bullet marks up high , except when I saw the red shirts used slingshot to hit the windows, but I don’t see bullet holes in the window. They simply were not hitting the building, the firework hit the buildings, I was watching the red shirts shoot firework, in fact I was in the Dusit Thani hotel talking on the telephone when the grenades hit the hotel, they hit between two of the rooms it was quite serious, luckily nobody was hurt.

Q: How many days you were on the street of Bangkok during the protest and the riot?
A: Good question, may be, I should try to count that up, may be 7 to ten days..yeah about a week.

Q: So you have been here all along and did you see any men in black from the accusation, from the question raised.
A: Yes, I was this close, I photographed them. They had fire bombs and I photographed them. They are not men in black who were the guards, I saw them too, but these were the men in black and they were like soldiers. They were not normal soldiers. To me, you know I spent a lot of time with soldiers in the war and the “Men in Black” that I saw seem like special forces people, very confident, they knew what they were doing and they are not afraid of gunshots that were coming very close to us, they were moving very close toward the gunshot and these were not normal guys, very dangerous individuals.

Q: Did you talk to them, which side they were on?
A: No, because they were busy, I mean when I was with them the fighting started and they would come out so the fighting was really going on so I did not have a chance to talk to them. And then when the fighting was in they disappeared.

Q: Have you talked to any military or any soldiers during the operation?
A: Mostly I just watched them. I watched them very closely for hours at a time, how they treated people because this is very important in the war if the soldiers and the police mistreat the people they will be hurt, the people will fight back, so I was watching them very closely and the Thai military using discipline and they treated people with respect, yes they were in every case. They never stopped me from photographing as an example, never saw them mistreat any Thai people or any foreigners or any journalists. If they stopped anybody from photographing I did not see it, they did not stop, the red shirts did not stop me either. So the police, the army the red-shirts, everybody let me go everywhere nobody stops me from seeing anything.

Q: Where were your spots while observing, behind the military or behind the red shirts?
A: Both..not always behind either, sometimes, between. For instance, I was here which was the main red shirt area and I was here many times.

Q: Did you walk around freely?
A: Oh yes, yes…walked around and people were here, they were sleeping in the middle over there, they were some children who were unaccounted for.

Q: Don’t you have any fear?
A: Well they treated me well, but it is dangerous, but it is Thai people. Seriously, they are not going to kill somebody like in Afghanistan

Q: You are a war correspondent and you are quite used to Iraq and Afghanistan, what’s the difference between Thailand and those countries.
A: Well, Thailand is more resistant to fighting. In Afghanistan, fighting is like guerrilla warfare, fighting is like soccer to them, just like a sport. I am serious, I mean it is a kind of funny, but it is actually serious. They take guerrilla warfare like a sport. Thailand is not like that, Thailand is more resistant to fighting so there is a great hope that this war can be stopped before it started and that is important now because at this moment the government is stronger than it will ever be so if the war starts it will become weaker and weaker so now is the chance to make sure that it does not start so that’s what important to me now because I love Thailand.

The second part to be continued.