14 สิงหาคม วันที่เกิดเหตุรุนแรงครั้งใหญ่ เข้าขั้น เขตสงคราม เมื่อตำรวจปราบจลาจล พร้อมอาวุธ รถถัง ปืน
และเฮลิคอปเตอร์
เข้าสลายพื้นที่ชุมนุมของกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮัมหมัด มอร์ซี่
เกิดเหตุปะทะครั้งใหญ่ตามท้องถนน ระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจ ในหลายพื้นที่ในอียิปต์
สื่อของรัฐระบุมีผู้เสียชีวิต 149 คน
ขณะที่ประธานาธิบดีรักษาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 1 เดือน ทั่วประเทศ
มาดูเหตุการณ์สำคัญหลักๆที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปี
ของการเปลี่ยนผ่านในอียิปต์ เกิดอะไรขึ้น และทำไมลุกลามถึงวันนี้
25 ม.ค.-11 ก.พ. 2554
คนอียิปต์รวมตัวกันประท้วงทั่วประเทศเพื่อต่อต้านอดีตประธานาธิบดีมูบารัก
หลังจากครองประเทศมานาน 30 ปี มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน
11 ก.พ. มูบารักตัดสินใจลงจากตำแหน่ง
28 พ.ย. 2554- 15 ก.พ. 2555 ช่วงเปลี่ยนผ่าน และการเลือกตั้งสส
เข้าสู่สภาใช้เวลาหลายสัปดาห์ ในสภาล่างกลุ่มภราดรภาพมุสลิมชนะการเลือกตั้งในสภาเกินครึ่ง
ขณะที่สภาสูง กลุ่มมุสลิมครองที่นั่งกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
16-17 มิถุนายน คนอียิปต์ลงเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี
30 มิ.ย. มอร์ซี สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดี
4 ธันวาคม 2555 ผู้คนเริ่มออกมาประท้วงนับแสนคน
ต่อต้านไม่เห็นด้วยกับความพยายามลงมติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มีผู้ประท้วงออกมาต่อต้านมอร์ซีกันตามท้องถนน มีเหตุปะทะและผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 คน
25 ม.ค. 2556 คนออกมาประท้วงประธานาธิบดีมอร์ซี่
ในวาระที่ประท้วงมูบารักครบรอบ 2 ปี เกิดเหตุปะทะในหลายพื้นที่
30 มิ.ย. 56 ผู้คนนับล้านออกมาประท้วงที่มอร์ซี่
รับตำแหน่งประธานาธิบดีครบ 1 ปี เรียกร้องให้ลงจากตำแหน่ง มีผู้เสียชีวิต 8 คน
จากเหตุปะทะนอกสำนักงานใหญ่ของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม มีผู้เสียชีวิต 8 คน
1 ก.ค. การประท้วงครั้งใหญ่ขยายต่อไป
กองทัพขีดเส้นใต้ให้ประธานาธิบดีลงจากตำแหน่งภายใน 48 ชั่วโมง
3 ก.ค. กองทัพอียิปต์นำโดยพลเอกอัลซีซี่
ประกาศว่ามอร์ซี่หมดอำนาจแล้ว และแต่งตั้งประธานศาลฏีกาขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
เป็นประธานาธิบดีรักษาการ แกนนำกลุ่มภราดรภาพมุสลิมถูกจับตัว
4 ก.ค. Adley Mansour ขึ้นเป็นประธานาธิบดีรักษาการ
5 ก.ค. มานซัว ยุบสภาสูงทีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสายมุสลิม ผู้สนับสนุนมอร์ซี่ประท้วงครั้งใหญ่
เกิดเหตุปะทะระหว่างมวลชนสองฝ่าย มีผู้เสียชีวิต 36 คน
8 ก.ค. ทหารอียิปต์ ยิงเข้าใส่ผู้ประท้วงผู้สนับสนุนมอร์ซี่
บริเวณหน้าค่ายทหารที่กรุงไคโร มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50 คน
ต่างฝ่ายต่างโทษอีกฝ่ายว่าเป็นผู้เริ่มต้น มานซัว ประกาศเลือกประธานาธิบดีใหม่กลางเดือนกุมภาพันธ์
กลุ่มภราดรภาพมุสลิมปฏิเสธเข้าร่วม
9 ก.ค. โมฮัมหมัด เอลบาราเด
ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานาธิบดีรักษาการ
26 ก.ค. ผู้คนนับล้านออกไปประท้วงตามท้องถนน
ตามคำขอของผู้บัญชาการกองทัพว่าต้องหยุดยั้งกลุ่มที่อาจจะเป็นผู้ก่อการร้าย
ก็คือผู้สนับสนุนมอร์ซี่
30 ก.ค. Chaterine
Ashton โฆษกอียู คุยกับมอร์ซี่ 2 ชั่วโมงโดยไม่ได้ระบุสถานที่
เป็นความพยายามทางการทูตที่จะยุติเหตุรุนแรง
11 ส.ค. กองกำลังอียิปต์ประกาศว่าจะยึดพื้นที่การชุมนุมสองจุด ภายใน
24 ชั่วโมง และตั้งจุดสกัดกั้นห้ามคนผ่านเข้าออก
12 ส.ค. เจ้าหน้าที่เลื่อนวันปฏิบัติการสลายค่ายผู้ชุมนุม
บอกว่าต้องการหลีกเลี่ยงเหตุนองเลือด
กลุ่มผู้สนับสนุนมอร์ซี่ยิ่งหลั่งไหลเข้าไปชุมนุมเพิ่ม
14 ส.ค. กองกำลังด้านความมั่นคงที่มีอาวุธครบ มีรถถังเคลื่อนเข้าไปบริเวณพื้นที่ผู้ชุมนุม
กลุ่มสนับสนุนมอร์ซี่ออกมาเผชิญหน้ากับตำรวจในท้องถนน ในหลายเมืองในอียิปต์
และที่กรุงไคโร มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 149 คน กลุ่มมุสลิมตอบโต้ด้วยการเผาทำลาย
และโจมตีอาคารสถานที่ เช่นสถานีตำรวจ อาคารที่ทำการของราชการ โบสถ์
ประธานาธิบดีรักษาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 เดือน
เรียบเรียงจากสำนักข่าว AP