30.9.13

7-week mission of Eisenhower Fellowships 2013

Eisenhower Fellowships 2013: Southeast Asia Program (SEARP)

The day one has already started with “Eisenhower Fellowships 2013 Southeast Asia Program (SEARP). I am more than honored to be one among five fellows from Thailand, and one among 25 fellows from ASEAN. The fellows  from Thailand this year are Sarinee Achavanuntakul, Rathapol Bhakdibhumi, Prinya Hom-Anek, Dr. Veerathai Santiprobhob and me.




The Eisenhower Fellowships program is a 7-week program prepared according to interests of each fellow. The EF has been on for more than 60 years and the best part of it, we were told, is expansion of our horizons through network of nearly 2000 EF fellows around the world.

For me, it is a great and luxury opportunity to, well take a so-called “break” from my daily routine at work for 7-week. (One condition of the EF is fellows should not work at all during the program) I guess every fellow has to manage at some point and with the raising demand from 24-7 connected society, it seems getting harder to completely ignore our work.



Anyhow, welcome speech by John S. Wolf, President of EF does help a lot when he said “it is also the time to trust that your colleague can really cover your job while you are away,” Thanks to the management at the ThaiPBS especially MD Somchai Suwanban to grant green light for me to be here, and not least supportive colleagues of “This is  ThaiPBS” program, I fully acknowledge I am burdening you for 50 days!  



All 25 fellows will be in Philadelphia for the first five days, and then we will go on our own separate programs to different cities, and different states. Perhaps, some destinations can be overlapped, but the unique character of this EF is to respond to an individual requests.

My interests in the EF program is mainly in media, transition of traditional to social media, ASEAN, and women leadership. Thus from now until 16 November, it will be a great time to “meet” with leaders from different areas which I have chosen.  

Stay tuned!

เริ่มต้นอย่างไม่เป็นทางการแล้ว สำหรับโปรแกรม Eisenhower Fellowships 2013 Southeast Asia Program (SEARP) ที่จะกินเวลายาวนาน 7 สัปดาห์ ซึ่งเป็นการลาจากงานนานที่สุดในรอบกว่า 5 ปี กับการทำงานที่ ThaiPBS 

ทุน EF ปีนี้ให้ความสำคัญกับ ผู้นำรุ่นใหม่จากสาขาต่างๆในอาเซียน รวม 25 คน เพื่อที่จะได้นำความสนใจของตนเอง มาต่อยอด ศึกษา และพูดคุยกับ ผู้นำในแต่ละวงการในสหรัฐ  ปีนี้ผู้ได้รับทุนจากประเทศไทยคือ สฤณี อาชวานันทกุล ปริญญา หอมอเนก รัฐพล ภักดีภูมิ ดร.วิรไท สันติประภพ และฉัน  นอกจากจะยินดีมากแล้วที่ได้พบกับตัวแทนจากประเทศไทย เพื่อนๆ EF จากประเทศในอาเซียนล้วนแล้วแต่หลากหลาย มีจากวงการธุรกิจ ประชาสังคม กองทัพ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้กำกับภาพยนตร์ เป็นต้น  

โดยรวมกับ 50 วัน ในโปรแกรม แต่ละคนจะมีนัดพูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบรรดาผู้บริหารที่นัดไว้ประมาณ  60 นัด  ฉันเลือกดูงานด้านสื่อ ยุคการเปลี่ยนผ่านไปสู่สื่อสังคมและดิจิตอล องค์กรสื่อ ผู้หญิงกับความเป็นผู้นำ และยุทธศาสตร์สำหรับอาเซียน  องค์กรที่นัดไว้มีหลากหลาย เช่นสำนักสื่ออย่าง PBS, CBS , Washington Post, New York Times, Nieman Lab, Thai Studies at Harvard University  และอื่นๆอีกมากมาย

ขอบคุณผู้บริหาร ThaiPBS โดยเฉพาะ ผอ.สมชัย สุวรรณบรรณ ผู้สนับสนุนและเปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้โลกกว้าง และที่ไม่ลืมเป็นอย่างยิ่งคือเพื่อนร่วมงานหลายท่าน ต้องคอยดูแลรายการ และทำหน้าที่แทนช่วงที่ฉันไม่อยู่ ขอบคุณมากๆค่ะ

ขอบพระคุณ EF “รุ่นพี่ในเมืองไทย อ.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ คุณสนิทสุดา เอกชัย และคุณสุภิญญา กลางณรงค์ สำหรับคำแนะนำทุกเรื่องค่ะ

ประสบการณ์ และมุมมองที่ได้จะนำมาย่อยให้ท่านๆได้ติดตามกันต่อไปค่ะ


22.9.13

Julie Chen and her secret revealing จูลี่ เฉิน และความลับว่าต้องทำตาสองชั้นเพื่อหน้าที่การงาน


มีเรื่องที่อาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก และไม่มีสาระในสายตาคุณผู้ชาย แต่สำหรับผู้หญิงเป็นเรื่องใหญ่มาก
เรื่องของ ความสวย และความก้าวหน้าในอาชีพการงาน

มีข่าวที่สร้างความฮือฮาในสหรัฐไม่น้อย เมื่อ Julie Chen หนึ่งในพิธีกรรายการ “The Talk” เปิดเผยความลับของเธอกลางรายการทีวีว่า เธอต้องไปทำศัลยกรรมให้ตาโตขึ้น เพื่อที่จะเติบโตในงานผู้ประกาศหน้าจอโทรทัศน์

เหตุเกิดเมื่อปี 1995 วันที่เธอยังเป็นนักข่าวท้องถิ่นที่เมือง Dayton เธอเป็นนักข่าวภาคสนาม และบอกกับผู้บริหารว่าอยากจะขอโอกาสเป็นผู้ประกาศหน้าจอบ้าง ถ้าเผื่อมีคนลางาน หรือทำแทนในวันหยุดก็ได้ ปรากฏว่าผู้บริหารชายท่านนั้นบอกว่า

คุณคิดว่าหน้าตาคุณเป็นแบบนี้จะมีคนดูเหรอ หน้าตาคุณออกจีนๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคนในท้องถิ่น และถ้าให้ผมพูดตรงๆก็คือ ตาคุณที่เป็นแบบนี้ (ตาชั้นเดียว) ดูไม่น่าสนใจ ดูน่าเบื่อ และดูไม่ตื่นตัว

จูลี่ บอกว่าความเห็นที่ออกมาแบบนั้น เสมือนมีดสั้นที่ทิ่มแทงหัวใจ เสมือนกับการพูดตัดโอกาสว่าชาตินี้เธอจะไม่มีทางเจริญก้าวหน้าใดๆ ก็เพราะว่ามีตาชั้นเดียว เหมือนหมวยจีนทั่วๆไป

ต้องบอกไว้ก่อนว่าจูลี่ เป็นที่ยอมรับอย่างมากเรื่องความสามารถ สัมภาษณ์คนได้อย่างดี ทำข่าวได้เยี่ยม 

พอถูกเจ้านายวิพากษ์เรื่องหน้าตาตรงๆ เธอเลยคิดหนัก แทบจะเสียความมั่นใจในตัวเอง และยิ่งพอได้คุยกับเอเจนต์หางาน ก็ยิ่งคิดหนัก เพราะเอเจนต์พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าทางออกเดียวคือต้องไปทำตาสองชั้น (วงการผู้ประกาศในสหรัฐแข่งกันดุมาก นอกจากจะต้องเก่งมากแล้ว ภาพลักษณ์หน้าจอเป็นเรื่องตัดสินด้วยว่าจะได้งานหรือไม่ได้งาน)

ในที่สุดเธอตัดสินใจไปทำ และหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างที่เห็น

แน่นอนว่าเธอดูตาโตขึ้น ดูสวยขึ้น และหน้าที่การงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

จูลี่ บอกว่าไม่เคยออกมาเปิดเผยตรงๆแบบนี้ แต่คนที่เห็นเธอก็คงรู้ว่าเธอไปทำตามาแน่นอน และต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าตาที่ไปกรีดสองชั้นมาจะสวยเข้าที่อย่างที่เห็น

เรื่องนี้มีทั้งเรื่องความสวย เรื่องชาติพันธุ์ความเป็นคนจีนในสังคมสหรัฐ และหน้าที่การงานของผู้หญิง

เรื่องราวของจูลี่  สำหรับสังคมอเมริกันคือการเหยียดชนชาติ (racism) ว่าวงการสื่อไม่ยอมรับความสวยแบบจีนๆ
แต่เรื่องราวของจูลี่ สะท้อนภาพรวมว่าผู้หญิงเมื่อก้าวสู่โลกสาธารณะ มีหลายอย่างเป็นปัจจัยที่จะตัดสินว่าพวกเธอจะเดินต่อไป หรือ ไม่ได้ เดินต่อไปในอาชีพการงาน  ความสามารถล้วนๆไม่พอ

ด้านหนึ่งจูลี่ได้รับความเห็นใจและได้รับการสนับสนุนอย่างมากที่ กล้า เปิดเผยเรื่องราวของเธอให้คนรับรู้ แต่อีกด้านหนึ่งยังมีคนค้านเช่นกันว่าที่เธอยอมถูกกรีดตา ก็เพื่อจะได้ ความสวย มาครอบครอง โดยที่ไม่ยอมต่อสู้

การตัดสินใจของจูลี่ คงเป็นเรื่องที่คิดแทนกันไม่ได้ แต่เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า มาตรฐานของความสวย ที่ตั้งไว้โดยสังคม อาจจะกำลังเป็นหอกทิ่มแทงผู้หญิงจำนวนมาก และสร้างความทุกข์ให้กับผู้หญิงจำนวนมากเมื่อพวกเธอคิดว่า สวยไม่ได้มาตรฐาน ตามที่สังคมบอกไว้


ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสวย หน้าตา เป็นปัจจัยสำคัญต่อโลกแห่งการทำงานของผู้หญิง และยิ่งมีมาตรฐานความสวยที่ตั้งไว้สูงมาก และต่างกันไปในแต่ละสังคม ไม่นับรวมสินค้าหลากหลาย วงการโฆษณาต่างๆ ยิ่งทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าแรงกดดันมีมาก และจะต้องทำสวยเท่าที่จะทำได้เพื่อ ให้ได้มาซึ่งความฝัน  //

ดูคลิป  "The Talk" ที่ Julie Chen เปิดเผยความลับ ในลิงค์ข้างล่างนี้ 

http://www.slate.com/blogs/xx_factor/2013/09/12/julie_chen_on_the_talk_i_got_plastic_surgery_to_make_my_eyes_less_asian.html