31.7.08
สื่อต่างชาติเกาะติด ตัดสินคดีเลี่ยงภาษีหุ้นชินวัตร
จำคุกคุณหญิงพจมาน ชินวัตร และนายบรรณพจน์ ดามาพงษ์ พี่ชายบุญธรรม 3 ปี และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวเป็นเวลา 2 ปี เพราะมีความผิดฐานหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีอากรบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น 546 ล้านบาท
บรรยากาศในห้องพิจารณาคดีที่จุคนได้เพียง 100 กว่าคนค่อนข้างเคร่งเครียด
พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมลูกชายและลูกสาวสองคนร่วมนั่งฟังในห้องพิจารณาด้วย
สังเกตดูเจ้าหน้าที่ของศาลที่ควบคุมการถ่ายทอดทางโทรทัศน์วงจรปิด คงจะเข้าใจอารมณ์ของผู้ที่อยู่ในห้องพิจารณา และผู้ชมทางบ้านได้เป็นอย่างดี เลยจับภาพได้ทั้งสีหน้าและท่าทาง ของทั้งคุณหญิง และครอบครัว
สำนักข่าวรอยเตอร์และบีบีซี เห็นถึงความนิ่งของคุณหญิงค่ะ โดยรายงานว่าพอผู้พิพากษาอ่านจบ คุณหญิงพจมานไม่ได้แสดงอาการอะไร และเป็นฝ่ายเดินไปตบแขนพันตำรวจโททักษิณ เพื่อให้กำลังใจ ทั้งๆที่ตนถูกตัดสินจำคุก 3 ปี
สำนักข่าวเอเอฟพี ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าคำตัดสินของศาลอาญาในครั้งนี้จะเป็นการสร้างความยากลำบากให้กับอดีตนายกรัฐมนตรี โดยคำตัดสินเป็นการดำเนินคดีทางกฎหมายเป็นคดีแรก ในหลายๆคดีที่พันตำรวจโททักษิณและคนวงในถูกฟ้องร้อง
คดีนี้ยังไม่จบค่ะ เพราะทางจำเลยจะยื่นฟ้องศาลอุทธรณ์ต่อไป ภายในเวลา 1 เดือน ต้องติดตามกันต่อว่าจะลงเอยแบบไหน
น้ำมันถั่วเหลืองขึ้นราคา?
พรุ่งนี้น่าจะชัดเจนขึ้นแล้วค่ะว่า เราจะต้องจ่ายเงินซื้อน้ำมันถั่วเหลืองแพงขึ้นหรือเปล่า วันนี้ดิฉันได้คุยกับคุณเศรษฐสรร เศรษฐการุณย์ นายกสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลือง (คลิ๊กชมคลิปวีดีโอ ข้างบนได้ค่ะ) คุณเศรษฐสรรเล่าให้ฟังว่าได้ยื่นเรื่องให้กรมการค้าภายในทราบแล้ว และในเบื้องต้นกระทรวงพาณิชย์ตกลงแล้วแต่ว่าขอดูรายละเอียดก่อนตัดสินใจว่าจะให้ขึ้นเมื่อไร
ถ้าเป็นอย่างที่นายกสมาคม บอกจริงแสดงว่าคำถามตอนนี้คือจะขึ้นราคาเมื่อไร ไม่ใช่จะขึ้นราคาหรือไม่
ก็ต้องติดตามกันต่อล่ะคะ ว่าน้ำมันถั่วเหลืองจะแพงขึ้นมั้ย ในช่วงนี้ที่น้ำมันดิบเริ่มถูกลงบ้าง
น้ำมันถั่วเหลืองที่แพงขึ้น เพราะว่าไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองจากสหรัฐ บราซิล และอาร์เจนติน่า โดยไทยปลูกถั่วเหลืองได้เพียง 10 เปอร์เซนต์ ของปริมาณการใช้ในประเทศ
ดิฉันสอบถามด้วยว่าแล้วทำไมผู้ผลิตน้ำนมถั่วเหลืองไม่เห็นขอขึ้นราคาบ้างเลย คุณเศรษฐสรรชี้แจงว่า นมถั่วเหลืองใช้ปริมาณเมล็ดถั่วเหลืองต่ำกว่าการผลิตน้ำมันถั่วเหลืองมาก ในแต่ละปีอาศัยการนำเข้าเพียง 30,000 กว่าตัน ขณะที่ผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองต้องซื้อเมล็ดถั่วเหลืองถึง 1.6 ล้านตัน
ผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองบอกว่าแบกรับภาระต่อไปไม่ไหวเพราะว่า ตอนนี้ถั่วเหลืองแพงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11 บาท เป็น 22 บาท
นอกจากคนทั่วโลกจะแย่งกันใช้น้ำมันแล้ว ตอนนี้กำลังแย่งกันบริโภคถั่วเหลืองด้วย โดยเฉพาะกระแสความต้องการที่พุ่งสูงขึ้นจากประเทศจีน
กระแสการแย่งชิงอาหารเริ่มรุนแรงขึ้นทุกขณะค่ะ แต่เรื่องใกล้ตัวอย่างน้ำมันถั่วเหลืองก็ต้องจับตากันว่าราคาจะแพงขึ้นหรือเปล่า
30.7.08
หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินถอนตัวพรรคร่วม และอดีตรมว ต่างประเทศ ชี้ทางออกปราสาทพระวิหาร
แต่การลาออกหนนี้อาจจะไม่ได้เหนือความคาดหมายเท่าไรนัก เพราะมีการวิเคราะห์กันว่า ในการปรับคณะรัฐมนตรีที่จะมีขึ้นในอีกวันสองวันข้างหน้า หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินอาจจะหลุดจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ก็อาจจะเหลือเพียงบทบาทรัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม
คงจะเป็นเพราะทราบทิศทางลมเลยชิงลาออกเสียก่อน แต่ข่าววงในก็ว่าสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดินไม่ได้รับรู้กับการตัดสินใจของหัวหน้าพรรค และในช่วงที่ผ่านมาคุณสุวิทย์เองก็ไม่ได้มีฐานอำนาจในพรรค ไม่ได้เป็นถุงเงิน และเป็น ส.ส. สอบตก เหตุเหล่านี้อาจจะทำให้สมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดินไม่ได้ตบเท้าตามออกมาด้วย
ก็ต้องติดตามกันต่อไปค่ะว่า การลาออกหนนี้จะส่งผลกับพรรคเพื่อแผ่นดินอย่างไร และคณะรัฐมนตรีโฉมใหม่จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง
นอกจากความเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว เรื่องปราสาทพระวิหารก็ยังต้องติดตามกัน คลิ๊กชมบทสัมภาษณ์คุณสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ
คุณสุรเกียรติ์ ชี้ว่าขณะที่ไทยกำลังเดินหน้าเจรจาระดับทวิภาคี ก็ไม่ควรลืมที่จะเปิดเกมรุกในเวทีพหุภาคีต่อไปด้วย โดยเฉพาะต้องเร่งตอบโต้คำร้องของกัมพูชาที่ส่งถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) โดยเนื้อหาตรงกับ บทที่เจ็ดในกฎบัตรของสหประชาชาติ เข้าทำนองว่าไทยคุกคามสันติภาพของกัมพูชา ทั้งๆที่ไทยคงทหารไว้ในพื้นที่ของไทย
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มองจากมุมนักกฎหมายว่าถ้าไทยอยู่เฉยๆ กัมพูชาอาจจะใช้ประเด็นนี้ไปฟ้องร้องสหประชาชาติอีกในอนาคต
งานนี้ต้องเร่งตัดไฟเสียแต่ต้นลม
28.7.08
แถลงการณ์ร่วมทวิภาคี ไทย-กัมพูชา ประสานรอยร้าว
27.7.08
วันจันทร์ที่ 28 ความเคลื่อนไหวที่ต้องติดตาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ หมาดๆ
จะเป็นตัวแทนฝ่ายไทยไปเจรจาระดับทวิภาคีกับ
นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา ในวันจันทร์ ที่ 28 กรกฎาคมนี้ ที่เมืองเสียมราฐ
เป็นงานใหญ่งานแรกของรัฐมนตรีคนใหม่ค่ะ
นักวิเคราะห์หลายๆท่านต่างฝากความหวังไว้กับฝีไม้ลายมือของ ท่านทูตเตช ว่าด้วยประสบการณ์อันช่ำชองในวงการทูต
และความสนิทสนมกับทางกัมพูชา น่าจะช่วยให้การหารือของไทยและกัมพูชาเป็นไปด้วยดี และน่าจะมีผลลัพธ์ที่ทำให้คนไทยใจชื้นขึ้นได้บ้าง
สถานการณ์ไทยกับกัมพูชาช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเขม็งเกลียวกันอย่างมาก เพราะเรื่องระหองระแหงระหว่างสองประเทศ ถูกหยิบยกเข้าสู่เวทีในระดับสากลอย่างอาเซียน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทางกระทรวงการต่างประเทศของไทยต้องเดินเกมรับกันเป็นการใหญ่ จนที่สุดทั้งสองฝ่ายตกลงจะคุยกันในระดับทวิภาคีได้ในที่สุด
งานนี้ไม่ง่าย เพราะทั้งสองฝ่ายต่างมีจุดยืนอยู่บนพื้นฐานที่ยึดถือแผนที่คนละฉบับ ในเรื่องพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร
แต่เมื่อนายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชา ชนะการเลือกตั้งไปอย่างขาดลอยในวันนี้ (27 กรกฎาคม) ก็อาจจะทำให้การหารือกันในวันพรุ่งนี้ง่ายขึ้นก็เป็นได้
26.7.08
เลขาธิการอาเซียน คุยกับผู้สื่อข่าวต่างชาติ
เมื่อวานนี้ (25 กรกฎาคม) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนมาพูดที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างชาติ ในโอกาสที่ไทยรับงานต่อจากสิงคโปร์ในฐานะประธานอาเซียน
เลขาธิการอาเซียน พูดคุยกับผู้สื่อข่าวอย่างเป็นกันเองค่ะ และเน้นว่าต้องยืนพูดเพราะถ้านั่งพูดจะไม่ค่อยถนัด หลักใหญ่ใจความก็คือไทยกำลังมีงานใหญ่รออยู่ข้างหน้าในช่วง 18 เดือน ในฐานะประธานอาเซียน งานแรกก็ต้องให้สามประเทศสมาชิกคือ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปินส์ เร่งลงนามในกฎบัตร หรือธรรมนูญอาเซียนโดยเร็วที่สุด
นอกจากเรื่องการทำงานของอาเซียนแล้ว เหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กิส ที่ถล่มลุ่มแม่น้ำอิรวดีของพม่า ได้กลายเป็นทั้งวิกฤติและโอกาสของอาเซียนไปด้วยในตัว คุณสุรินทร์บอกในช่วงให้สัมภาษณ์กับดิฉันค่ะว่า พายุนาร์กิส ช่วยสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวให้กับอาเซียน แต่ก็น่าเสียดายที่ต้องรอนานขนาดนี้ และต้องรอจนเกิดเหตุร้ายขนาดนี้ เวทีโลกถึงหันมาเห็นว่าอาเซียนนั้นทำงานร่วมมือกันได้จริง
งานนี้ก็ต้องพิสูจน์ฝีมือกันต่อไปล่ะค่ะ แต่อย่างน้อยน่าจะเป็นจุดพลิกผันที่ดีสำหรับอาเซียน ที่จนถึงวันนี้เรียกได้ว่าเข้าวัยกลางคนแล้วกับอายุ 41 ปี
25.7.08
ไทยเตรียมหารือระดับทวิภาคีกับกัมพูชา วันจันทร์หน้า
มาพลิกล๊อคกันนาทีเกือบสุดท้าย แต่ไม่น่าจะเหนือความคาดหมายค่ะ ที่ในที่สุดทั้งสองประเทศตกลงว่าจะคุยกันในระด้บทวิภาคี
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมากัมพูชาเดินเกมรุกทางการทูตกับไทยมาตลอด โดยนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่เวทีระดับภูมิภาคทั้งอาเซียนและยูเอ็น ทั้งๆที่มีการเจรจาหารือกับตัวแทนฝ่ายไทย ในคณะกรรมการร่วมชายแดนทั่วไปไทยกัมพูชาเมื่อวันจันทร์
คุณดอน ปรมัตถ์วินัย เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ บอกว่าโล่งใจที่ในที่สุดเรื่องนี้ไม่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ว่าจะประชุมฉุกเฉินกันในวันจันทร์หรือไม่ "การประชุมระดับทวิภาคีทำให้อุณหภูมิไทยระหว่างไทยและกัมพูชาลดลง"
แต่จุดยืนของไทยและกัมพูชายังต่างกันโดยสิ้นเชิงในเรื่องพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร รอบปราสาทพระวิหาร เพราะไทยถือว่าพื้นที่เป็นของไทยตามแผนที่แนวสันปันน้ำ ในขณะที่กัมพูชายึดตามสนธิสัญญาที่ทำกับฝรั่งเศส ปี 1904 และอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่พิพาทเช่นกัน
จากนี้ไปจะเป็นการวัดชั้นเชิง และฝีมือในการเจรจาทางการทูตของไทยกับกัมพูชา วันที่ 28 กรกฎาคม จะต้องเริ่มพิสูจน์กันอีกครั้ง น่าจะเรียกได้ว่าการเจรจาระลอกใหม่เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น และการเลือกตั้งในกัมพูชาในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ อาจจะเป็นตัวแปรสำคัญในการพบปะกันของทั้งสองประเทศในวันจันทร์ด้วย
23.7.08
ไทย-กัมพูชา เข้าเวทียูเอ็นฉุกเฉิน
ที่จริงเรื่องข้อขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาน่าจะเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายพูดคุยและตกลงกันเองได้ในระดับทวิภาคี หรือระหว่างสองประเทศ
แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากัมพูชาเปิดเกมรุกทางการทูตกับไทยอย่างเต็มที่ โดยนำเรื่องเข้าสู่เวทีระดับภูมิภาคอย่าง Asean และได้ส่งหนังสือชี้แจงไปถึง UN Security Council เพื่อนำเรื่องนี้เข้าสู่เวทีโลก
ความขัดแย้งบานปลายไปขนาดนี้ ทางไทยต้องเร่งแก้ปัญหาทางการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเร่งด่วน
อดีตเอกอัครราชทูตไทย กษิต ภิรมย์ ผู้มีประสบการณ์ยาวนานในกระทรวงการต่างประเทศ และเคยเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำรัสเซีย อินโดนีเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่น และกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์กับรายการที่นี่ ทีวีไทย ว่าไทยไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไปที่กัมพูชานำเรื่องเข้าสู่เวทีระดับโลก และบอกว่า "เขาจะทำอะไรก็เรื่องของเขา อยู่ที่รัฐบาลไทยจะทำอย่างไรมากกว่า"
อดีตเอกอัครราชทูตย้ำว่า ตอนนี้ไทยต้องกลับมาตั้งหลักการเจรจากับกัมพูชาใหม่ โดยต้องยืนยันที่จะใช้เอกสารเดิมที่เคยใช้ คือ 1. สนธิสัญญาระหว่างสยามและฝรั่งเศส เมื่อปี 1904 ซึ่งตามสนธิสัญญาจะใช้แนวสันปันน้ำ ซึ่งปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งไทย 2. จดหมายที่นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ส่งถึงศาลโลกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2505 เพื่อโต้แย้งคำตัดสินของศาลโลก
ขณะเดียวกัน ศ.ดร. สุรชัย ศิริไกร จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ว่ากรณีที่กัมพูชาจะส่งเรื่องนี้ถึงศาลโลกด้วยนั้น ไม่น่าจะทำได้เพราะตามการดำเนินการของศาลโลก คู่กรณีทั้งสองต้องตกลงและยอมที่จะขึ้นศาลก่อน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมก็จะทำไม่ได้ แต่ที่สำคัญปัญหาระดับนี้ต้องให้ภูมิภาคพยายามแก้ปัญหากันเองก่อน
อาจารย์สุรชัย ย้ำว่าฝ่ายไทยต้องเร่งแก้สถานการณ์โดยเรียกประชุมทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ผู้สื่อข่าวต่างชาติ และทำสมุดปกขาวชี้แจงต่อ Asean UN และตุลาการศาลโลก เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทย
ที่สำคัญต้องไม่ลืมการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่กรณีอย่างกัมพูชาด้วย
22.7.08
หนทางยังอีกยาวไกล ไทย-กัมพูชา
หลังจากรอกันนานเกือบ 8 ชั่วโมงเต็ม คณะกรรมการร่วมทั่วไปชายแดนไทยกัมพูชา (General Border Committee- GBC) ก็ประชุมเสร็จสิ้น แต่ไม่น่าแปลกใจถ้าไม่มีทางออกใหม่
งานนี้ตัวแทนฝ่ายไทยคือพลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเตีย บัน รัฐมนตรีกลาโหมของกัมพูช ต่างแถลงการณ์ไปในแนวเดียวกันว่าต้องพยายามรักษาความสงบตรงชายแดน เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง
คุณกวี จงกิจถาวร บรรณาธิการอาวุโสเครือเนชั่น บอกว่าการใช้เวลาหารือกันนานๆ ร่วม 8 ชั่วโมงอย่างนี้เป็นเรื่องที่ดี เพราะแสดงว่าทั้งสองฝ่ายคุยรายละเอียดกัน ดีกว่าที่จะคุยกันไม่นานแล้วจากกันไปแบบไม่เข้าใจ ซึ่งอาจจะทำให้ยิ่งเครียดหนักขึ้นไปอีก
ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดว่าหลังการเลือกตั้งในกัมพูชา วันที่ 27 กรกฎาคม สถานการณ์น่าจะดีขึ้น แต่ช่วงนี้ต้องระวังให้ดีเพราะถ้าเกิดมีเสียงปืนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลั่นขึ้นมาอาจจะทำให้สถานการณ์บานปลายได้
ทางคุณเพน สมิธธี บรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์รัศมี กัมพูชา เห็นด้วยว่าสถานการณ์กำลังอ่อนไหวมาก และต้องระวังไม่ให้เกิดเสียงปืนนัดใดนัดหนึ่งขึ้น
เหตุการณ์คุกรุ่นระหว่างสองฝ่ายเกิดขึ้นเมื่อคนไทย 3 คน ปีนรั้วลวดหนามเข้าไปทางฝั่งกัมพูชา แล้วโดนจับตัวไป ทั้งสองฝ่ายต่าตรึงกำลังทหารกันฝ่ายละ 3,000 คน
ตอนนี้ประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่บริเวณชายแดนต่างไม่สบายใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่จริงคนไทยและกัมพูชา ตรงชายแดนไปมาหาสู่กันอยู่แล้ว และค้าขายร่วมกันอยู่แล้ว พอเกิดเหตุตึงเครียดแบบนี้ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนค่ะ
หวังว่าเรื่องจะไม่บานปลาย เพราะผู้ที่สูญเสียก็คือผู้ที่อยู่ในพื้นที่
19.7.08
ไทย-กัมพูชา สถานการณ์คุกรุ่นที่ต้องจับตา
พอเข้าวันอังคารและวันพุธ มาตรการเศรษฐกิจที่ออกมาก็กลายเป็นข่าวดังพุ่งแรง พร้อมกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างติดๆ กับความเป็นนโยบายประชานิยม
นักวิเคราะห์มองว่ารัฐบาลอาจจะมองไปข้างหน้าในกรณีที่เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆขึ้น มาตรการเศรษฐกิจนี้อาจจะเอาใจฐานเสียงไว้ได้บ้าง
พอปลายสัปดาห์ประเด็นความมั่นคงแซงหน้าทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ และจะยังเป็นเรื่องที่ต้องตามต่อกันในวันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคมนี้ เพราะสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา กำลังครุกรุ่น จนรัฐบาลต้องจัดประชุมด่วนผู้บัญชาการเหล่าทัพเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ของกัมพูชา ส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทยว่าต้องการให้ถอนกำลังออกจากบริเวณชายแดน
ในวันจันทร์เวลา 10.00 น. ทั้งสองฝ่ายจะประชุมกันที่จังหวัดสระแก้ว โดยทางไทยมีพลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นตัวแทน ขณะที่พลเอกเตีย บันห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะเป็นตัวแทนฝ่ายกัมพูชา
มีรายงานด้วยค่ะว่าทั้งสองฝ่ายจะแถลงข่าวร่วมกันหลังจากประชุมเสร็จ ต้องจับตากันให้ดีว่าผลการประชุมจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะชั้นเชิงการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายนั้นจะมีความน่าสนใจไม่น้อย
16.7.08
ปปช ไม่หวั่น แม้โดนล้วงลูก
เมื่อประกาศออกมาอย่างนี้ก็ย่อมหนีไม่พ้นจะโดนจับตามองและโดนวิพากษ์กันพอสมควร ว่ามาตรการที่ออกมา 6 เรื่องนั้น เป็นแนวทางนโยบายประชานิยมเฉพาะกิจ
เพื่อเอาใจผู้มีรายได้น้อยเต็มที่ หกมาตรการคือ
1. การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
2. ชะลอการปรับราคากาซหุงต้มหรือ LPG ในภาคครัวเรือน
3. งดค่าใช้จ่ายน้ำประปา ถ้าใช้ไม่ถึง 50 หน่วย
4. งดค่าใช้จ่ายไฟฟ้า ถ้าใช้ไม่เกิน 80 ยูนิต ถ้าใช้ไฟ 81-150 ยูนิตจะลดให้ครึ่งหนึ่ง
5. ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางปกติรถเมล์ร้อนมี 1600 คัน จะไม่เก็บค่าโดยสาร 800 คัน
6. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้นสาม ทั่วประเทศ
เอาใจกันมากขนาดนี้ก็ยากค่ะที่คนจะไม่มองว่าเป็นแนวประชานิยมอย่างชัดเจน
แต่อีกเรื่องที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด คือสัญญาณที่รัฐบาลส่งออกมาชัดเจนว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และถอดถอนองค์กรอิสระ งานนี้กรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริต หรือ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรอิสระก็ย่อมจะต้องหาทางรับมือให้ดี เพราะจะต้องตรวจสอบในอีกหลายเรื่อง
วันนี้จากที่ดิฉันได้พูดคุยกับ ศ.ดร. ภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. อาจารย์ย้ำว่าองค์กรอิสระเกิดมาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 และตามมาตรา 299 องค์กรอิสระย่อมมีความถูกต้องตามกฎหมาย งานนี้อาจารย์ภักดีบอกว่า จะต้องเดินหน้าลุยทำงานกันต่อไป อย่างไม่หวั่นไหว และจะต้องคงความเป็นอิสระในการทำงานต่อไป และยิ่งเพิ่งได้รับมอบงานมาจากคณะกร่รมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ ค.ต.ส. ก็ยิ่งจะต้องเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน
วันนัดเปิดสภาในวันที่ 1 สิงหาคม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะเดินหน้าไปในทิศใด
15.7.08
เตรียมฟังแถลงข่าวปรับมาตรการเศรษฐกิจครั้งใหญ่
มาตรการที่จะออกมานั้นเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวงค่ะ ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และกระทรวงพลังงาน
งานนี้กะเก็งกันว่า รัฐบาลน่าจะย้ำถึงนโยบายที่เอาใจผู้มีรายได้น้อย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ มุ่งไปที่กลุ่มคนจนเมืองและคนต่างจังหวัด ที่ถูกกระทบอย่างหนักจากปัญหาน้ำมันแพง
คาดว่ามาตรการนั้นจะมี การลดค่าขนส่ง ค่าน้ำและค่าไฟฟ้า และลดภาษีน้ำมันบางประเภท และต้องจับตามองเรื่องนโยบายของกระทรวงพลังงานด้วยว่าจะมีมาตรการด้านน้ำมันและพลังงานออกมาอย่างไร
ต้องไม่ลืมนโยบายคูปองคนจน ที่รัฐบาลแย้มออกมาเมื่อสามสัปดาห์ก่อนว่าจะมีรายละเอียดอย่างไร และประชาชนกลุ่มไหนที่จะเข้าข่ายได้รับคูปอง
และน้ำมันดีเซลที่จะนำเข้าจากรัสเซียในอีกไม่ถึง 60 วันนั้น ประชาชนจะมีสิทธิ์ได้ใช้กันอย่างทั่วถึงหรือไม่
เป็นหลายเรื่องที่ต้องจับตาและให้ความสำคัญกันในยามนี้ค่ะ และที่น่าสังเกตคือรัฐบาลนี้ขยับตัวเรื่องเศรษฐกิจขนานใหญ่เป็นครั้งแรก หลังจากเข้ามารับตำแหน่งตั้งแต่เดือนมกราคม อาจจะเป็นเพราะกระแสความคลางแคลงใจต่อรัฐบาลกำลังพุ่งสูง เลยต้องปรับตัวใส่ใจกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างจริงจังเพื่อพยายามเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชนกลับคืนมา
13.7.08
Russian Diesel Fuel for Thailand in 60 days
Should we celebrate so soon?
I wonder who or what organisation will be responsible for this deal management. I, of course, as Thai, would like to know more details of the deal between the two countries.
As far as I know, Russia holds the eighth largest oil reserves in the world. It is also the world's largest exporter of natural gas, and the second largest oil exporter. Most of Russia's product exports consist of diesel fuel and fuel oil.
Clearly, diesel fuel is one of Rusia's major exports. To what extent will the Thai people receive real benefits of the deal? Don't blink!