อีกไม่ถึง 48 ชั่วโมง ที่ต้องจับตากันว่าสภาคองเกรสของสหรัฐ จะโหวตผ่านร่างกฎหมายเพื่อกอบกู้สถาบันการเงินที่ต้องใช้งบประมาณมากถึง 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือไม่
ช่วงนี้คงจะไม่มีข่าวไหนร้อนแรงไปกว่าความเคลื่อนไหวที่มีต้นตอจากสหรัฐ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง ที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงค่ะ
เศรษฐกิจที่กำลังเจอวิกฤติที่เรียกว่า hamburger crisis ก็กำลังทำให้ทั้งโลกวิตก เพราะเกรงว่าเศรษฐกิจของตนจะโดนหางเลขไปด้วย
สหรัฐเป็นประเทศที่เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก ถ้าปัญหาสถาบันการเงินล้มเป็นโดมิโน เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ชาวอเมริกันทั่วไปก็จะต้องเดือดร้อน เมื่ออำนาจในการจับจ่ายของคนสหรัฐลดลง ก็ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่น ที่ต้องพึ่งพิงตลาดสหรัฐ อย่างคนไทยก็จะขายของ ส่งออกให้คนอเมริกันได้น้อยลง คนอเมริกันก็อาจจะมาเที่ยวเมืองไทยน้อยลงไปด้วย
อีกด้านหนึ่งที่ต้องจับตาในวันพฤหัสบดีเช่นเดียวกัน ก็คือการโต้วาทีของผู้สมัครตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐ ระหว่าง Sarah Palin ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน และ Joseph Biden จากพรรคเดโมแครต ที่ต้องมาปะทะคารมกันครั้งแรกในเวทีระดับประเทศ
เชื่อว่าประเด็นเศรษฐกิจจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ทั้งสองฝ่ายต้องเตรียมตัวกันให้ดีค่ะ
วันพฤหัสบดี จับตาความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง จากประเทศพี่เบิ้มอย่างสหรัฐค่ะ
2 comments:
ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาทำตัวเองให้เป็นศูนย์รวมในการโอบอุ้มระบบทุนนิยมของโลกที่มีโลกาภิวัตน์ เป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่ง เพราะสหรัฐคงตระหนักดีว่า ถ้าตนเองล้ม ระบบทุนนิยมทั้งโลกก็จะล้มไปด้วย
ดังนั้น วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ (ที่มีสิทธิลามไปถึงการเมืองในประเทศของสหรัฐ) ในครั้งนี้ จะพิสูจน์ว่า ทุนนิยมเสรีนั้นจะยืนอยู่รั้งคงทนไปได้สักเท่าใด เพราะแม้แต่พวกสังคมนิยมอย่างจีนก็ต้องปรับตัวให้อยู่กับทุนนิยม
คงถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่เราจะได้ทำลาย 'วาทกรรม' ทุนนิยมชุดนี้ทิ้ง เฉกเช่นวาทกรรมชุดอื่นๆที่พวกเราได้เคยทำลายมันทิ้ง (และสร้างมันใหม่ขึ้นมาทดแทนตลอดเวลา)
ขอบคุณมากครับ
Post a Comment