25.11.08
วันยุติความรุนแรงต่อสตรี
วันยุติความรุนแรงต่อสตรี
วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ก็คือวันสากลแห่งการยุติความรุนแรงต่อสตรี (The International Day for Elimination of Violence Against Women)
จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อ 37 ปีก่อนค่ะ เมื่อสามสาวพี่น้อของตระกูลมิราบัล ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของสาธารณรัฐโดมินิกัน แต่เมื่อปี 1961 ถูกลอบสังหาร พี่น้องทั้งสามคนเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านอำนาจเผด็จการในยุคนั้น
นักเคลื่อนไหวผู้หญิงทั้งโลกเห็นคุณค่า และตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมาได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง
จะมีรายงานพิเศษในประเด็นนี้ในที่นี่ ทีวีไทยคืนนี้ด้วย
และสัญลักษณริบบิ้น ที่เห็นข้างบนก็เป็นเครื่องหมายเตือนใจให้ช่วยกันลดความรุนแรงต่อผู้หญิง
อันที่จริงความรุนแรงเกิดขึ้นหลากรูปแบบ และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น เด็กผู้ชายก็ถูกกระทำความรุนแรงได้ และอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม
รายการคืนนี้จะติดตามเส้นทางการโจรกรรม พระพุทธรูปอายุกว่า 200 ปี ไปจากอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่อาจจะมีการซื้อขายกันในตลาดมืด และอย่าลืมติดตามรายงานพิเศษตอนที่สอง กับภารกิจของตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับงานประจำในแต่ละวันที่ช่วยเหลือชาวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในพื้นที่
23.11.08
ดูทีวี มากๆ จะไม่มีความสุข!
มีรายงานที่สวนทางกับสายงานของดิฉันเลยค่ะ และอาจจะทำให้ผู้ดูบางท่านตัดสินใจถอยห่างออกไปจากเจ้าจอสี่เหลี่ยมนี่ก็ได้
ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก ได้ทำการสำรวจผู้คนชาวสหรัฐ 450,000 คน ในช่วงเวลา 45 ปี พบว่า คนที่มีความสุข และบอกว่าตนเองมีความสุข จะเป็นพวกที่ชอบพบปะผู้คน ไปโบสถ์ ในช่วงสุดสัปดาห์ และ....อ่านหนังสือพิมพ์ค่ะ
ในทางตรงกันข้าม คนที่ชอบนั่งดูทีวีเงียบๆคนเดียว เป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยมีความสุข
แย่แล้วสิ คนส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ ที่มีทีวีดู ก็มีความสุขน้อยลง ถึงขั้นเป็นคนที่ไม่มีความสุขเลยหรือ ยิ่งทีวี เป็นสื่อในโลกยุคนี้แล้ว แถมราคายังถูกลง เป็นมือถือทีวีก็มี แสดงว่าเทคโนโลยีใหม่ๆที่น่าจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้คน ก็ยิ่งทำให้คนไม่มีความสุขล่ะสิ ???
คงจะไม่ขนาดนั้นกระมังคะ
จากรายงาน บอกว่า คนที่มีความสุขมักก็ดูทีวีด้วยเหมือนกัน แต่จะหมดเวลาไปกับกิจกรรมอื่นมากกว่าที่จะดูแต่ทีวี
ทีวีดูเหมือนจะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ของผู้คนด้วย และคนที่บอกว่าตนเองมีความสุขน้อย จะใช้เวลาดูทีวียาวนานกว่า
เหมือนสมการผกผันเลยนะคะ ดูทึวีมาก = มีความสุขน้อย (กว่า)
ดูทีวีน้อยลง = มีความสุขมาก (กว่า)
แถมรายงานยังสรุปว่า ในระยะยาวๆๆแล้ว คนที่ดูทีวีมาก มีแนวโน้มจะเป็นคนมีความสุขน้อยกว่า
อ่านรายงานนี้แล้ว นึกถึงศัพท์ ว่า couch potato ที่หมายถึงพวกที่วันๆเอาแต่นั่งๆนอนๆดูทีวี
คนใกล้ตัวของหลายๆท่านมีอาการเป็น couch potato หรือเปล่าคะ
เรื่องนี้อาจจะมีมูลอยู่บ้าง เคยสังเกตตัวเองมั้ยคะว่า เวลาดูทีวีแล้วหยุดไม่ได้ บางทีรายการหรือหนังที่ดูอยู่ก็ไม่ได้เนื้อหาสาระอะไรเลย แถมเปลี่ยนช่องไปก็ยังไม่ถูกใจ แต่ก็ไม่ยอมปิดทีวี เปิดแช่อยู่นั่นแล้ว เหมือนกับทีวีกำลังเป็นเจ้านายคุณอยู่ จะนึกปิดก็เสียดาย กลัวว่าจะพลาดอะไรไป กลัวจะตกเทรนด์ หรือกลัวจะเหงา กลัวความเงียบ
ดิฉันเคยนั่งๆนอนๆอยู่หน้าทีวี จนกลายเป็นทีวีดูเราแทน กลายเป็นมันฝรั่งกลิ้งไปมาบนโซฟา (couch potato)
ไม่ต้องพูดถึงคนที่เตรียมขนมนมเนย ข้าวโพดคั่ว ของขบเคี้ยวทั้งหลาย อยู่หน้าจอทีวี นอกจากจะไม่มีความสุขแล้วยังอ้วนอีกต่างหาก
เรื่องนี้น่าจะใกล้ตัวหลายๆท่านนะคะ มีประสบการณ์แบบไหนเขียนมาเล่าสู่กันฟังบ้าง
แต่อย่าเลิกดูทีวีกันหมดนะคะ เดี๋ยวจะคิดถึงกันแย่เลย
หมายเหตุ ภาพจาก www.asa.org.uk
20.11.08
ระดมสมอง เรื่อง Human Rights ในอาเซียน
วันที่ 15-18 ธันวาคม ประเทศไทยกำลังจะมีงานใหญ่ ที่เป็นหน้าเป็นตาระดับภูมิภาคและระดับโลกค่ะ กับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (Asean Summit) ในวาระที่ไทยเป็นประธานอาเซียน เป็นเวลายาวนานถึง 18 เดือน ที่จะไปสิ้นสุดช่วงกลางปี 2552 หมายความว่าไทยจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานสุดยอดผู้นำอาเซียน 2 ปีซ้อนค่ะ
ถ้าในยามบ้านเมืองปกติ สถานการณ์การเมืองเรียบร้อยก็คงไม่น่าหนักใจอะไรนักกับงานใหญ่แบบนี้ เพราะไทยเองก็เคยพิสูจน์มาแล้วว่าจัดงานได้ดี แต่ในยามนี้ก็คงจะต้องลุ้นกันพอสมควรค่ะ เริ่มแรกก็สถานที่จัดงาน ที่ตอนแรกวางไว้ว่าจะจัดในกรุงเทพ ตอนนี้ก็ต้องย้ายไปเชียงใหม่แน่นอนแล้ว
แต่ก็จะมาปิดงานกันที่กรุงเทพค่ะ และจะมีอีกงานสำคัญถัดไปทันทีก็คืองานสนทนาระดับโลก "Global Dialogue" งานนี้เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของอาจารย์สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ที่เชิญผู้นำองค์กรระดับโลกอย่าง สหประชาชาติ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และอื่นๆ มากระทบไหล่กันที่เมืองไทย ในวันที่ 18 ธันวาคม
ไทยก็จะอยู่ในสายตาชาวโลกกันอีกครั้งค่ะในวันนั้น จับตาดูสื่อต่างๆให้ดี ที่บรรดากระจิบข่าวทั้งหลายทั่วโลกจะต้องมารวมกันที่กรุงเทพมหานคร
วันนั้นก็คงจะยังไม่ได้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ (!?!) ก็ต้องรับมือกันไปค่ะ
ตามหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา...อยู่กับปัจจุบัน แก้ปัญหากันไปทีละวัน อย่าไปกังวลมาก (เกี่ยวกันหรือเปล่า?)
ที่เล่ามาก็เพื่อจะบอกว่า วันนี้ไปนั่งฟังงานรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ที่กระทรวงต่างประเทศเป็นผู้จัด
มีประเด็นสำคัญมากมาย โดยเฉพาะเรื่องการจัดตั้งกลไกด้านสิทธิมนุษยชน
เรื่อง Human Rights นี่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับวัฒนธรรมเอเชียนะคะ และที่ยิ่งน่าแปลกใจ ระคนน่าตกใจในคราวเดียวกันก็คือ มีเพียง 4 ประเทศในอาเซียนเท่านั้น ที่มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีไทยเป็นหนึ่งในนั้นด้วย อีกสามคื่อ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
แล้วอีก 6 ประเทศอาเซียนที่เหลือไม่มี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ !!!
น่าตั้งคำถามมากกว่า เมื่ออาเซียนต้องการผลักดัน Human Rights Body แล้วประเทศอาเซียนทั้ง 10 จะทำงานร่วมกันอย่างไร มองประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนตรงกันหรือเปล่า แล้วเมื่อมีกลไกแล้วจะเข้าไปก้าวก่าย หรือแสดงความเห็นในกิจการภายในของประเทศอื่นได้หรือไม่
ยกตัวอย่างใกล้ตัว อย่างกรณีกรือเซะ หรือ ตากใบ ของไทย ไทยจะยอมให้ประเทศกัมพูชา หรือ พม่า แสดงความคิดเห็นในการจัดการได้หรือไม่ หรือในทางกลับกัน พม่าจะยอมให้ไทยแสดงความเห็นเหรอว่า ชาวพม่าไม่ได้รับสิทธิในการแสดงออกทางการเมือง นี่ยังไม่ต้องถามถึงประเด็นในประเทศอื่นๆ อย่างเช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์
งานพูดคุยกันวันนี้เป็นยกแรกเท่านั้นนะคะ
จากนี้คณะทำงานก็ต้องเร่งจัดทำกรอบการทำงาน และเสนอร่างสุดท้ายให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เห็นชอบในเดือนกรกฎาคม ปีหน้า
โดยรวมแล้ว มีแนวคิดก็ย่อมดีกว่าไม่ดีค่ะ เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า และความเปลี่ยนแปลงในที่สุด
Change....Yes, we can.
ขอสรุปแบบทันสมัย เข้ากับสโลแกน ของโอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐค่ะ
หมายเหตุ ภาพจาก Human Rights Education Team
ถ้าในยามบ้านเมืองปกติ สถานการณ์การเมืองเรียบร้อยก็คงไม่น่าหนักใจอะไรนักกับงานใหญ่แบบนี้ เพราะไทยเองก็เคยพิสูจน์มาแล้วว่าจัดงานได้ดี แต่ในยามนี้ก็คงจะต้องลุ้นกันพอสมควรค่ะ เริ่มแรกก็สถานที่จัดงาน ที่ตอนแรกวางไว้ว่าจะจัดในกรุงเทพ ตอนนี้ก็ต้องย้ายไปเชียงใหม่แน่นอนแล้ว
แต่ก็จะมาปิดงานกันที่กรุงเทพค่ะ และจะมีอีกงานสำคัญถัดไปทันทีก็คืองานสนทนาระดับโลก "Global Dialogue" งานนี้เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของอาจารย์สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ที่เชิญผู้นำองค์กรระดับโลกอย่าง สหประชาชาติ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และอื่นๆ มากระทบไหล่กันที่เมืองไทย ในวันที่ 18 ธันวาคม
ไทยก็จะอยู่ในสายตาชาวโลกกันอีกครั้งค่ะในวันนั้น จับตาดูสื่อต่างๆให้ดี ที่บรรดากระจิบข่าวทั้งหลายทั่วโลกจะต้องมารวมกันที่กรุงเทพมหานคร
วันนั้นก็คงจะยังไม่ได้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ (!?!) ก็ต้องรับมือกันไปค่ะ
ตามหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา...อยู่กับปัจจุบัน แก้ปัญหากันไปทีละวัน อย่าไปกังวลมาก (เกี่ยวกันหรือเปล่า?)
ที่เล่ามาก็เพื่อจะบอกว่า วันนี้ไปนั่งฟังงานรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ที่กระทรวงต่างประเทศเป็นผู้จัด
มีประเด็นสำคัญมากมาย โดยเฉพาะเรื่องการจัดตั้งกลไกด้านสิทธิมนุษยชน
เรื่อง Human Rights นี่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับวัฒนธรรมเอเชียนะคะ และที่ยิ่งน่าแปลกใจ ระคนน่าตกใจในคราวเดียวกันก็คือ มีเพียง 4 ประเทศในอาเซียนเท่านั้น ที่มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีไทยเป็นหนึ่งในนั้นด้วย อีกสามคื่อ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
แล้วอีก 6 ประเทศอาเซียนที่เหลือไม่มี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ !!!
น่าตั้งคำถามมากกว่า เมื่ออาเซียนต้องการผลักดัน Human Rights Body แล้วประเทศอาเซียนทั้ง 10 จะทำงานร่วมกันอย่างไร มองประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนตรงกันหรือเปล่า แล้วเมื่อมีกลไกแล้วจะเข้าไปก้าวก่าย หรือแสดงความเห็นในกิจการภายในของประเทศอื่นได้หรือไม่
ยกตัวอย่างใกล้ตัว อย่างกรณีกรือเซะ หรือ ตากใบ ของไทย ไทยจะยอมให้ประเทศกัมพูชา หรือ พม่า แสดงความคิดเห็นในการจัดการได้หรือไม่ หรือในทางกลับกัน พม่าจะยอมให้ไทยแสดงความเห็นเหรอว่า ชาวพม่าไม่ได้รับสิทธิในการแสดงออกทางการเมือง นี่ยังไม่ต้องถามถึงประเด็นในประเทศอื่นๆ อย่างเช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์
งานพูดคุยกันวันนี้เป็นยกแรกเท่านั้นนะคะ
จากนี้คณะทำงานก็ต้องเร่งจัดทำกรอบการทำงาน และเสนอร่างสุดท้ายให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เห็นชอบในเดือนกรกฎาคม ปีหน้า
โดยรวมแล้ว มีแนวคิดก็ย่อมดีกว่าไม่ดีค่ะ เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า และความเปลี่ยนแปลงในที่สุด
Change....Yes, we can.
ขอสรุปแบบทันสมัย เข้ากับสโลแกน ของโอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐค่ะ
หมายเหตุ ภาพจาก Human Rights Education Team
18.11.08
The Personal is the Political
ฤา ภาพที่เห็นนี้จะกลายเป็นอดีตไปแล้ว สำหรับครอบครัวของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
เหตูผลก็คาดกันไปหลายเรื่องค่ะ ที่คุณหญิงพจมาน และคุณทักษิณ หย่ากันที่สถานกงศุลไทยในฮ่องกงเมื่อวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน ทั้งว่าเป็นเรื่องการเมือง การปกป้องทรัพย์สิน หรือ ว่าหย่ากันจริงๆ เพื่อที่คุณหญิงจะได้กลับมาต่อสู้คดีต่อในเมืองไทย
สุดจะคาดเดานะคะ แต่ก็คงจะใช้เวลาไม่นานเกินไปก็คงพอจะเดาทางกันออก
งานนี้ The personal is the political จริงๆ ตามปรัชญาของนักสตรีนิยม ที่ว่าเรื่องในบ้าน เรื่องส่วนตัวนั้น แท้จริงแล้วเป็นเรื่องการเมือง เรื่องของสาธารณะ
คำกล่าวนี้ใช้ได้อย่างแม่นเหมาะ สำหรับครอบครัวคุณทักษิณ ณ วินาทีนี้ เพราะว่าเรื่องราวส่วนตัว การตัดสินใจหย่าร้างกัน ได้กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองไปแล้ว
คำกล่าวนี้ วิเคราะห์กันถึงการแบ่งงานกัน ความสัมพันธ์ทางเพศภาวะ (gender relations) รวมถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (power relations) ในความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชาย หรือ คนคู่ใดๆก็ตาม ที่การต่อรองในเรื่องส่วนตัวนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งสิ้น
จะว่าไปพอมีคนสองคน ก็ต้องเกิดการต่อรองกัน จนถูกมองว่ากลายเป็นเรื่องการเมือง ขั้นแรกก็ในครอบครัวนี่แหละค่ะ
กรณีคุณทักษิณ กับคุณหญิงพจมาน ดูเหมือนตอนนี้ด้านหนึ่งสังคมจะตีความตามบรรทัดฐานของสังคมไทย (หรืออาจจะเป็นสังคมส่วนใหญ่ในโลก) ที่ว่า ผู้ชายจะให้ความสำคัญกับพื้นที่สาธารณะหรือการงาน อาชีพ นอกบ้าน ขณะที่ผู้หญิงจะดูแลครอบครัว และลูกเป็นอันดับหนึ่ง (ถึงแม้ขณะเดียวกันผู้หญิงก็ต้องทำงานไปพร้อมๆกันด้วย) ฉะนั้นงานนี้คุณหญิงอ้อ ก็ถูกมองว่าจะต้องตัดใจสละชีวิตแต่งงานกับอดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อจะได้มีโอกาสกลับมาต่อสู้คดีในไทย
แต่อีกด้านหนึ่งที่คงจะมองข้ามไม่ได้ก็คือ การแยกกันทางกฎหมายนั้น จะส่งผลอย่างไรต่อการดำเนินการทางการเมืองของคุณทักษิณ หรือ ครอบครัวชินวัตร ต่อไปในอนาคต
และตัวคุณหญิงเอง จะรามือ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือ การบริหารภายในพรรค จริงหรือไม่
หรือจะกลายเป็นตัวแทนทางการเมืองของสามี ก็คงจะเป็นคุณทักษิณและคุณหญิงพจมานเท่านั้นที่จะล่วงรู้
16.11.08
ที่ประชุม จี-20 ซื้อเวลา...รอโอบามา
แล้วการประชุมของกลุ่มผู้นำ G-20 ที่กรุงวอชิงตัน เพื่อระดมสมองแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจก็คงจะเป็นเพียงการรวมตัวของเหล่าผู้นำเท่านั้น เพราะไม่ได้มีเนื้อหา หรือมาตรการอะไรที่ชัดเจนเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน
ในภาพก็คือประธานาธิบดีบุช ขนาบด้วยเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ และทาโร อาโสะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น อาจจะเป็นเพราะบุชใกล้จะหมดวาระเต็มที่ ดูเหมือนผลการประชุมที่ชัดเจนก็คือ รอให้ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ โอบามา เข้ามาสานงานต่อในการประชุมครั้งถัดไป วันที่ 30 เมษายน 2009 101 วันหลังจากโอบามา สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในทำเนียบขาว
จะว่าไปก็อาจจะน่าผิดหวัง แต่อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกเท่าไร สำหรับการประชุมที่หาข้อยุติไม่ได้เช่นนี้ เพราะบุช เองก็คงไม่อยากผลักดันอะไรในระยะยาว เพราะมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตอนนี้เกี่ยวข้องกับหลายๆชาติ ไม่ใช่เรื่องของสหรัฐประเทศเดียวอีกต่อไป
นอกจากผู้นำสหรัฐ แล้วก็มีผู้นำอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน อินเดีย บราซิล ซาอุดิอาระเบีย อาฟริกาใต้ ตุรกี และตัวแทนอีกจาก 11 ประเทศกำลังพัฒนาร่วมหารือด้วย
เหล่าผู้แทนบอกว่าให้คำมั่นว่าจะร่วมกันทำงานต่อไป แต่ทำอะไร ทำอย่างไร รายละเอียดนั้นยังไม่มีการชี้ชัด
ประธานาธิบซาร์โกซี่ ของฝรั่งเศส ออกอาการค่อนข้างผิดหวังกับการเดินทางข้ามมหาสมุทรมาร่วมประชุมครั้งนี้ บอกว่ามาเพื่อมาประชุมไม่ได้มาท่องเที่ยว
ทางยุโรปมีจุดยืนว่า ควรจะมีกลไกควบคุมตลาดมากขึ้น และมีหน่วยงานระหว่างประเทศที่ตรวจสอบการทำงานของสถาบันการเงิน แต่ทางสหรัฐเห็นว่าผู้ตรวจสอบควรจะอยู่ในระดับชาติ เป็นข้อคิดเห็นที่ต่างกันแล้วละค่ะ เพราะสหรัฐต้องการให้คงการทำงานแบบเสรีต่อไป ขณะที่ยุโรปเห็นว่าต้องเข้มงวดกวดขันกันมากขึ้น
โอบามา ไม่ได้เข้าประชุมด้วย แต่ส่งที่ปรึกษาอย่างนางเมเดลีน อัลไบรท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เข้าไปร่วมรับฟัง เพื่อเตรียมหาแนวทางรับมือ
โดยรวม ผู้สังเกตการณ์บอกว่าการประชุมหนนี้น่าผิดหวัง
แต่ได้ข่าวว่า งานประชุมแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจนี่ใช้งบประมาณไปกับไวน์มากโขทีเดียวค่ะ Shafer Cabernet "Hillside Select" 2003 ตกขวดละ $500 หรือประมาณ 15,000 กว่าบาท หนักอยู่ละค่ะงานนี้กับงบประมาณจัดงาน !?!
หมายเหตุ: ภาพจาก New York Times
12.11.08
สลับร่าง...คิวข่าว ของ ที่นี่...ทีวีไทย
เสน่ห์อย่างหนึ่งของการทำรายการที่นี่ ทีวีไทย ก็คือต้องพร้อมที่จะยืดหยุ่นตลอดเวลา ทั้งความคิดและอารมณ์ เรียกว่าต้องเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมอารมณ์ให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเสี้ยววินาที
อย่างสองวันที่ผ่านมา ประเด็นนำที่เตรียมไว้ในช่วงระหว่างวันต้องมาเปลี่ยนอย่างหมิ่นเหม่ ตอนประมาณ หกโมงเย็นค่ะ ไม่ใช่ครั้งแรกหรอกค่ะที่เป็นอย่างนี้
พอมีประเด็นที่ร้อนและฮอตของวัน ก็ต้องเตรียมสลับสับเปลี่ยนคิวข่าวกันทันทีค่ะ จะว่าไปก็เป็นเรื่องปกติ แสนจะธรรมด๊า ธรรมดา สำหรับอาชีพสื่อมวลชน ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลากันอยู่ตลอดเวลา ยิ่งช่วงนี้การเมืองก็มีแต่เรื่องตื่นเต้นในแต่ละวัน ประเด็นก็พร้อมเปลี่ยนทันที
อย่างวันจันทร์ที่ผ่านมา พอช่วงเย็นๆก็มีกระแสข่าวลอยมาแล้วว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ส กรณีที่รัฐบาลอังกฤษถอนวีซ่า ประเด็นร้อนขนาดนี้ไม่เอาขึ้นนำก็ไม่ได้แล้วค่ะ
พอมาวันอังคาร ช่วงเย็นๆคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือ ปปช พิจารณาว่าคณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีความผิดกรณีทุจริตเรือและรถดับเพลิงมูลค่า 6,800 ล้านบาท
ถามว่าก็รู้แล้วว่าจะต้องมีประเด็นเหล่านี้ตั้งแต่เช้าแล้วไม่ใช่เหรอ
ก็พอจะรู้เลาๆนะคะ แต่บางทีถ้าผลการตัดสินไม่ได้ออกมาอย่างน่าตื่นเต้นหรือตกใจก็อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องนำ หรือถ้าคุณทักษิณ ไม่ได้ให้สัมภาษณ์แบบเต็มๆเสียงชัดถ้อยชัดคำ ก็อาจจะไม่ได้กลายเป็นประเด็นเด่นของวันก็ได้
สรุปเอาแบบดื้อๆว่า ก็ต้องเตรียมอารมณ์ ทำใจให้พร้อมกัน ในแต่ละวันล่ะคะ สำหรับการผลิตและจัดรายการข่าวสดๆ แบบ ที่นี่...ทีวีไทย
Subscribe to:
Posts (Atom)