25.11.08
วันยุติความรุนแรงต่อสตรี
วันยุติความรุนแรงต่อสตรี
วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ก็คือวันสากลแห่งการยุติความรุนแรงต่อสตรี (The International Day for Elimination of Violence Against Women)
จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อ 37 ปีก่อนค่ะ เมื่อสามสาวพี่น้อของตระกูลมิราบัล ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของสาธารณรัฐโดมินิกัน แต่เมื่อปี 1961 ถูกลอบสังหาร พี่น้องทั้งสามคนเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านอำนาจเผด็จการในยุคนั้น
นักเคลื่อนไหวผู้หญิงทั้งโลกเห็นคุณค่า และตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมาได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง
จะมีรายงานพิเศษในประเด็นนี้ในที่นี่ ทีวีไทยคืนนี้ด้วย
และสัญลักษณริบบิ้น ที่เห็นข้างบนก็เป็นเครื่องหมายเตือนใจให้ช่วยกันลดความรุนแรงต่อผู้หญิง
อันที่จริงความรุนแรงเกิดขึ้นหลากรูปแบบ และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น เด็กผู้ชายก็ถูกกระทำความรุนแรงได้ และอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม
รายการคืนนี้จะติดตามเส้นทางการโจรกรรม พระพุทธรูปอายุกว่า 200 ปี ไปจากอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่อาจจะมีการซื้อขายกันในตลาดมืด และอย่าลืมติดตามรายงานพิเศษตอนที่สอง กับภารกิจของตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับงานประจำในแต่ละวันที่ช่วยเหลือชาวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในพื้นที่
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
3 comments:
ฝากบอกคุณกรุณา บัวคำศรี ที่ออกรายการวันนี้กับคุณโคทมและคุณณรงค์ แล้วแสดงความเป็นห่วงใยกับสถานการณ์ ผมคิดว่า อย่าตอแหล ผมเห็นคุณกรุณาสนับสนุน พธม. มาตลอดด้วยการนำพรรคพวก พธม. มาออกรายการเป็นประจำ อย่างเมื่อวานก็เอา กลุ่ม "ปัญญาสยาม" ที่เรียกร้องการรัฐประหารมาออกรายการ ความจริงคุณก็เหมือนกันแสดงออกถึงการฝักใฝ่ พธม. จนพวก นปช. เรียกสถานีจองคุณ ASTV 2
ด่วน !!
คุณณัฐฐฐฐฐฐฐฐฐฐา มีข่าวว่าพี่อนุพงษ์จะเคลื่อนรถถังตอนเย็นๆ วันนี้แล้วเหรอคะ กระแสหนึ่งว่าจะกระซิบให้นากยกฯ ลาออก แบบว่าจะเปลี่ยนตัวนายกฯสมชายออออกไปปปป ก็เลยไม่แน่ใจว่าจริงอะป่าว เพราะทหารเตือนๆ มาว่า ช่วงนี้มีลูกหลานก็ให้อยู่บ้านสัก 2-3 วัน เมียทหารเขาสั่งให้ดิฉันกลับบ้านเร็วๆ ตั้งแต่วันนี้เลย...ระวังตัวดีๆ เน้อ
Y. Handkerchief
พวกคุณที่กำลังต้องการความสามัคคีและในฐานะพวกเดียวกับพันธมิตร ควรอ่านข่าวนี้และเตือนพันธมิตร มากกว่าโยนความผิดให้รัฐฝ่ายเดียว
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มติชนออนไลน์
พธม.ยิงรถนักข่าว-บังคับถอดเสื้อยุติความรุนแรง
วันนี้ (30 พ.ย.) เกิดเหตุพันธมิตรฯ ใช้อาวุธปืนยิงรถถ่ายทอดสัญญาณสถานีโทรทัศน์ข่าวทีเอ็นเอ็น ของสถานีเคเบิลทีวี ยูบีซี ทรูวิชชั่น โดยนายภานุมาศ ใจหอก เจ้าหน้าที่อุปกรณ์สัญญาณไมโครเวฟและพนักงานขับรถคันเกิดเหตุ กล่าวว่า ก่อนเกิดเหตุพร้อมเพื่อนร่วมงานอีก 1 คน ขับรถยนต์กระบะติดสติกเกอร์ยูบีซี และโลโก้สำนักข่าวทีเอ็นเอ็น หลังคาติดตั้งจานส่งสัญญาณไมโครเวฟ หลงทางอยู่ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ จึงจอดรถที่จุดตรวจกลุ่มพันธมิตรฯ บริเวณทางขึ้นทางยกระดับเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร เพื่อสอบถามทาง ขณะเดียวกันเกิดเสียงระเบิดขึ้น จากนั้นการ์ดพันธมิตรฯ รีบไล่ให้ขึ้นรถเพื่อขับเข้าไปยังอาคารผู้โดยสาร แต่เมื่อมาถึงจุดตรวจที่ 2 ปรากฏว่าเกิดเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด จึงรีบขับรถหนีกระทั่งถึงอาคารผู้โดยสาร เมื่อลงไปตรวจสอบพบรอยกระสุนปืนที่บริเวณ ฝากระบะท้ายรถ มุมประตูท้ายรถ และหลังคารถ โชคดีที่ไม่มีผู้รับบาดเจ็บ
ต่อมานายอมร อมรรัตนานนท์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ มาขอโทษพร้อมแจ้งว่า เป็นการเข้าใจผิดของการ์ดในจุดตรวจที่ 2 เนื่องจากหลังเกิดเสียงระเบิดขึ้นที่จุดตรวจที่ 1 รถยนต์คันดังกล่าววิ่งฝ่ามาด้วยความเร็วคิดว่าเป็นรถของผู้มาโยนระเบิดก่อกวน จึงยิงสวนไปเพื่อสกัดรถ
ด้าน นายณัฐวุฒิ กรัณยโสภณ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ที่ถูกผู้ร่วมชุมนุม 2 ราย บังคับให้ถอดเสื้อ "ยุติความรุนแรง" กล่าวว่า รู้สึกงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเป็นเสื้อที่สมาคมนักข่าวฯ ให้สวมเพื่อรณรงค์ให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และสวมไปทำข่าวพันธมิตรภายในทำเนียบรัฐบาลตลอดเวลา ไม่เคยมีใครมาบังคับให้ถอดออก แต่ไม่รู้สึกหวาดกลัวอะไร ยืนยันว่าจะทำหน้าที่รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามความเป็นจริงต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชน อย่างไรก็ตามตนไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายมากขึ้นไปอีก จึงยอมเลี่ยนเสื้อสีอื่นมาสวมแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิมเติมว่า แม้แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ จัดพื้นที่เฉพาะให้สื่อมวลชน แต่ยังมีผู้ชุมนุมจำนวนมากเดินตามมามุงดูและถ่ายภาพการทำงานของสื่อมวลชนทั้งหมดตลอดเวลา ทั้งยังมีการ์ดพันธมิตรฯ หลายกลุ่มเข้ามาสอบถามตลอดเวลา กระทั่งนายศรัญยู ที่ยืนคุยกับผู้สื่อข่าวในบริเวณดังกล่าวต้องให้การ์ดประจำตัวไปแจ้งให้ผู้ที่ชุมนุมอยู่แยกย้ายกันไป
นอกจากนี้เมื่อกลางดึกคืนที่ผ่านมา มีผู้สื่อข่าวสตรีสำนักข่าวแห่งหนึ่งถูกกลุ่มผู้ชุมนุมล้อมกรอบข่มขู่ให้ถอดเสื้อขาวปักข้อความ “ยุติความรุนแรง” ออกเช่นกัน และยังมีคนตามประกบพร้อมภ่ายภาพสื่อมวลชนทุกคนที่อยู่ในสนามบินสุวรรณภูมิ เหมือพยายามสร้างแรงกดดันให้สื่อมวลชนต้องรายงานเฉพาะข่าวด้านดีของการชุมนุมเพียงอย่างเดียว เป็นเหตุให้สื่อมวลชนทั้งหมดต้องคอยดูแลกันเป็นพิเศษ และรวมกลุ่มกันไว้ตลอดเวลา
Post a Comment