2.12.12

หน้าผาการคลังสหรัฐ: Fiscall Cliffs และสภาเป็ดง่อย

ภาพกราฟฟิค หน้าผาการคลัง จาก Washington Post 


ถูกพูดถึงกันไม่เว้นแต่ละวันว่าสภาคองเกรสจะเดินหน้าแก้ไขปัญหา "หน้าผาทางการคลัง" หรือ fiscal cliffs กันอย่างไร เป็นปัญหาจริงๆที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ต้องเผชิญหลังจากได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยที่ 2 

ตอนนี้สื่อกำลังติดตามเรื่องนี้กันอย่างหนัก สภาคองเกรสถูกจับตามองและถูกเรียกว่า "สภาเป็ดง่อย" หรือ "lame duck congress" ที่ถูกปรามาสว่า สส. สองพรรคคือรีพับลิกันและเดโมแครต ต่างพยายามเอาชนะคะคานกัน ขัดกันไปขัดกันมา จนทำให้สส.ที่จะต้องทำหน้าที่ออกกฎหมาย พูดคุยกันไม่ได้และยิ่งฉายภาพสภาคองเกรสที่แบ่งแยกกันหนักถึงขั้นตอกย้ำ "super bipartisanship" ที่พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากในสภาล่าง พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาสูง

หน้าผาทางการคลังคืออะไร่ ทำไมต้องสู้กันแทนที่จะช่วยกันโอบอุ้มประเทศ? 

Fiscal Cliffs คือคำที่เรียกกันสั้นๆ สำหรับภาวะที่รัฐบาลสหรัฐจะต้องเผชิญก่อนสิ้นปี 2012 หรือเป็นวันที่กฎหมายควบคุมงบประมาณ 2011 จะมีผลบังคับใช้ 

กฎหมายสำคัญๆที่จะมีผลต้องเปลี่ยนแปลงตอนเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม 2555 คือกฎหมายผ่อนคลายภาษีชั่วคราว กฎหมายงดเก็บภาษีชั่วคราวต่อธุรกิจบางกลุ่ม และเป็นจังหวะที่การตัดลดงบประมาณจะมีผลบังคับใช้เช่นเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าโครงการรัฐบาลกว่า 1000 โครงการที่เกี่ยวข้องกับงบกระทรวงกลาโหม และเมดิแคร์ หรือระบบดูแลสุขภาพ จะต้องถูกเข้าแถวเรียงหน้า "ตัดงบ" อย่างหนัก 

พูดง่ายๆ ภาวะผ่อนคลายทางภาษีจะต้องสิ้นสุด พร้อมๆกับการตัดลบงบประมาณในโครงการจำนวนมากจะต้องเกิดขึ้น 

ทางออกคืออะไร 

1. ถ้าเดินหน้าตามกฎหมาย ปัญหาที่จะตามมามาคือจะต้องเพิ่มภาษีอย่างมโหฬารและตัดลดงบประมาณอย่างมหาศาล การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐจะต้องชะงัก และเป็นไปได้ที่จะเดินหน้าเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ในแง่ดีคือ งบประมาณขาดดุลจะลดลง โดยเมื่อเทียบกับจีดีพี จะลดลงถึงครึ่ง 

2. รัฐบาลอาจจะยกเลิกมาตรการขึ้นภาษี และลดรายจ่าย แต่จะทำให้การขาดดุลสูงขึ้น และเป็นไปได้ว่าสหรัฐจะต้องเผชิญวิกฤตคล้ายๆกับที่กำลังเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศเขตยูโร  แต่ที่พอจะเป็นข้อดีคือเศรษฐกิจสหรัฐจะโตต่อไป 

3. ทางสายกลาง หาทางวางนโยบายที่จะแก้ปัญหางบประมาณ แต่แน่นอนทางเลือกนี้จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่มากก็น้อย 

ดูทางออกแล้วอาจจะไม่ยากนัก แต่อย่างที่เกริ่นไว้นะคะ "lame duck" congress ถูกจับตามอง เพราะ
พรรครีพับลิกันมีจุดยืนต้องการตัดงบประมาณและหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษี ขณะที่เดโมแครตต้องการทำให้ได้ทั้งสองแบบคือตัดงบประมาณและขึ้นภาษีไปพร้อมๆกัน ทั้งสองพรรคต้องการหลีกเลี่ยงหน้าผาทางการคลัง อีกหนึ่งฉากคือสมาชิกสภาคองเกรสจะไม่เริ่มทำงานอย่างเป็นทางการจนกว่าจะถึงวันสาบานตนในวันที่ 3 มกราคม ปี 2013 จึงเป็นหน้าที่ที่สมาชิกคองเกรสรุ่นปัจจุบันนี้จะต้องหาทางออกกันให้ได้ 

ดูตัวเลขกันชัดๆ 

ถ้ากฎหมายควบคุมงบประมาณ 2013 มีผลบังคับใช้ และรัฐบาลสหรัฐตัดสินใจเดินหน้าการขึ้นภาษีและตัดงบประมาณ แน่นอนจะช่วยลดการขาดดุลปัญชีเดินสะพัด $560,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่จีดีพีจะลดลงถึง 4 จุดเปอร์เซนต์ในปีหน้า ส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก การตกงานจะมากขึ้น คาดว่าอาจจะสูงถึง 2 ล้านตำแหน่ง 

นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ปัญหาหน้าผาการคลังจะไม่เห็นผลทันที ถ้ารัฐบาลเดินหน้าการควบคุมงบประมาณ แต่คนมะกันอาจจะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายและจะส่งผลให้เศรษฐกิจเซื่องๆซึมๆในระดับหนึ่ง  

นึกภาพหน้าผารออยู่ข้างหน้า จะเดินต่อไปได้อย่างไร ต้องหาไม้มาพาดเพื่อให้เดินหน้าข้ามหน้าผาไปให้ได้ แต่ไม้นั้นจะมั่นคงแข็งแรงหรือไม่และจะมีใครช่วยพยุงเพื่อให้ผ่านพ้น ที่ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรผลจากเศรษฐกิจมะกันก็คงจะสะเทือนมาถึงเอเชียและไทยไม่มากก็น้อย 

No comments: