16.9.08
916: D-Day ของ อันวาร์ อิบราฮิม
วันนี้วันดีเดย์ของนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของมาเลเซีย ณ วินาทีนี้ คงไม่มีชาวมาเลเซียคนไหนไม่รู้จัก 916 หรือ วันที่ 16 เดือน กันยายน (เดือน 9)
เป็นดีเดย์ ที่นายอันวาร์บอกว่าจะยึดอำนาจมาจากรัฐบาลให้ได้ ตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นขาขึ้นของผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซียค่ะ ที่ได้เสียงสนับสนุนหนักแน่นมากขึ้น
แต่กลยุทธการดึง สส มาจากพรรคแนวร่วมรัฐบาลนี่ก็เด็ดค่ะ น่าจะเด็ดดวงพอๆกันระหว่าง พรรครัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้าน เพราะพอรัฐบาลรู้ว่ากำลังจะโดน "ดูด" ก็ส่ง สส ฝ่ายตนไปดูงานถึงไต้หวัน งานนี้ฝ่ายอันวาร์ก็ไม่ลดละ ส่ง สส ไปหว่านล้อมถึงไต้หวัน เพื่อให้โอนเอียงมาทางฝ่ายค้านให้ได้
นายอันวาร์ โหมโฆษณาไปแล้วว่าถ้าได้ สส จากพรรคแนวร่วมรัฐบาลมาถึง 30 คนก็พอแล้วที่จะโค่นรัฐบาลได้
ช่างมั่นใจเหลือเกิน! แต่นักวิเคราะห์ของมาเลเซียเองก็มองว่า อันวาร์ไม่มีอะไรจะเสียหรอก เพราะเขาไม่ได้กดดันตนเอง ถ้าวันดีเดย์ 916 ทำไม่ได้อย่างที่ว่า ก็ค่อยๆทำต่อไป ต่อไป เรื่อยๆ เดี๋ยวก็ต้องได้สักวัน
พรรค Umno ของนายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ บัดดาวี ก็คงจะหนาวๆร้อนๆค่ะงานนี้ เพราะไม่รู้ว่าจะถูก "ดูด" สำเร็จเมื่อไร
หรือว่าจะต้องเริ่มนับถอยหลังกันแล้วสำหรับนายกรัฐมนตรีบัดดาวี ?!?
ดูเพื่อนบ้านแล้วก็สะท้อนใจอะไรบางอย่าง กับคำว่า "การเมือง"
การเมืองไทยเองก็เริ่มนับถอยหลังแล้วนะคะ วันพุธ ( 17 กันยายน) ก็จะได้เห็นอีก "โฉมหน้า" ของเกมการเมืองในสภาค่ะ รักใคร ชอบใคร เชียร์ใคร ก็อย่าลืมติดตาม ทั้งพรรคพลังประชาชน พรรคร่วมรัฐบาล และ พรรคประชาธิปัตย์ ชั้นเชิงน่าจะแพรวพราวกันไม่น้อยค่ะ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
แล้วเราก็คุยกัน
Democracy in game
การบ้านการเมืองที่คุณณัฎฐา เชื่อมโยงระหว่างไทยและมาเลเซีย อาจช่วยให้มองเห็น “สภาวะประชาธิปไตยของชนชั้นกลาง” ที่มีพัฒนาการทางการเมืองที่มีส่วนคล้ายคลึงกัน 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1.พัฒนาการตั้งรับของการรักษาฐานอำนาจ (เก่า) เพื่อรักษาระบอบมหาเธร์ ของพรรคอัมโน และรักษากลไกระบอบทักษิณของพรรคพลังประชาชน
2.พัฒนาการด้านใหม่ที่เน้นความแข็งกร้าวของการพยายามทำลายฐานอำนาจเก่า เพื่อเปิดขั้วอำนาจใหม่ของพรรคสมาชิกพรรคกิจประชาธิปไตย หรือ ดีเอพี ซึ่งเป็น พรรคพันธมิตรฝ่ายค้าน โดยการนำของนายอันวาร์ อิบบราฮิม และพรรคประชาธิปัตย์
3.การใช้ยุทธวิธีทุกทางเพื่อให้ได้เสียงข้างมาก จนกลายเป็น Democracy in game ไม่ว่าจะเป็นการช่วงชิงฐานเสียงสนับสนุนกลุ่มมุ้ง ภลุ่มภาค เพื่อให้มีพลังต่อรอง การสร้าง Hidden agenda เพื่อต่อรองเกมเก้าอี้รมต. การใช้ตัวแทนกลุ่ม (หน้าใหม่ๆ) ออกมาเดินเกมกดดัน เคลื่อนไหวเพื่อรักษาผลประโยชน์และอำนาจของกลุ่ม หรือการหยิบกติกา กฎหมายบางมาตรามาข่มขู่ หรือควบคุมการรุกของฝ่ายตรงข้าม (ทั้งที่อยู่พรรคเดียวกันและคนละพรรคก็ตาม) สิ่งเหล่านี้มักจะถูกหยิบมาสื่อสารอย่างเป็นระบบ ซึ่งเห็นชัดในฟากการเมืองไทย
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าในขณะที่อดีตนายกฯ ไทยเพิ่งถูกกดดันให้ออกจากเวทีการเมือง ที่มาเลย์เซียกลับตรงข้าม เมื่อดร.มหาเธร์ ที่เพิ่งลาเวทีการเมืองไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา กำลังจะหวนกลับมาต่อสู้กับลูกน้องเก่าที่เขาสั่ง “สั่งฆ่าทั้งเป็น” เพราะบัดดาวี ไม่เหี้ยมพอกับเกมนี้
4.การใช้ประชาชนทุกชนชั้นเป็นเครื่องมือต่อสู้ ที่เด่นชัดระบือไปทั้งโลกอยู่ที่หน้าทำเนียบพิษณุโลก มากกว่าที่กัวลาลัมเปอร์
สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ การเมืองภาคประชาชนทุกหมู่เหล่าที่เมืองไทยได้กลายเป็นกองกำลังปฏิวัติของประชาชนโดยอัตโนมัติ พวกเขาเรียกหาการเมืองใหม่ด้วยตัวเอง ด้วยน้ำมือ สมอง ทุน และกำลังใจของตัวเอง ทั้งนี้สิ่งที่ปรากฏให้เห็น เป็นเป้าหมายร่วมที่เคยซุกซ่อนอยู่ข้างใน เมื่อจังหวะของปัจจัยมาถึงเราจึงได้เห็นความหมายของคำว่า “อารยะขัดขืนที่ทรงพลังจนน่าขนหัวลุก” และมันก็ได้สำแดงพลานุภาพของความเป็นเอกภาพของพันธมิตรให้เห็นเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการระดมทรัพยากรในเชิงยุทธวิธีทั้งคน ทุน สติปัญญา และความมั่นคงที่แน่วแน่ (ถูกมองว่าดื้อด้าน) จนฝ่ายรัฐบาลทนต่อแรงเสียดทานไม่ไหว (ถูกกกดดันให้ลาออก และยังไม่แก้รัฐธรรมนูญ) แม้จะถูกหลายฝ่ายต่อต้านว่าไม่เล่นในกติกาของระบบอบประชาธิปไตยก็ตาม
ถ้าใครเคยผ่านสมรภูมิชุมนุมพฤษภาทมิฬ ปี 35 บางทีเราอาจจะเข้าใจคำว่า “จำลอง ..ไม่เคยตาย” ได้ดี
ส่วนที่มาเลย์ ยังโฟกัสไปที่นายอันวาร์ ที่แว่วๆ ว่า เกมแห่งอำนาจปะทุขึ้นเรื่อยๆ เขาส่งสัญญาณว่าสามารถดึงสส. ฝ่ายรัฐบาลมาได้ 30 คน และเชื่อได้ว่า เขาเดินเกมต่อได้...ถ้าเป้าหมายเขาแจ่มชัดพอเหมือนพันธมิตร
มีข้อสงสัยว่า ทำไม...ทั้ง 2 ฝั่งประเทศจึงต้องการ...เปลี่ยนแปลง...ขณะที่ประเทศไทยต้องการมากกว่าการเปลี่ยนแปลง ...นั่นเพราะเรายังอยู่ในวังวนของขบวนการประชาธิปไตย แต่กลับหา ultimate outcome ของมันไม่พบที่ใบหน้าของประชาชน แต่ output กลับไปโป่งพองที่ถังเงินของนักการเมือง
หรือเราแค่ใช้สิทธิเลือกตั้ง…แต่ไม่เคยใช้สิทธิพลเมือง
เราเคยถามตัวเองไหมว่าใช้สิทธิพลเมืองดีครั้งล่าสุดเมื่อใดกัน...แล้วถามต่อไปว่า มันเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า
จาก yellow handkerchief (Japanese version)
Post a Comment