10 ตุลาคม 2556
มีนัดสองแห่งที่กรุงวอชิงตันดีซี และกำหนดเดินทางสู่มหานครนิวยอร์ค
เวลา 17.05 น.
วันสุดท้ายที่ได้อยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซีสำหรับการเดินทางใน
EF2013 ครั้งนี้ (ถ้าตารางเดินทางเปลี่ยนอาจจะต้องกลับมาที่ดีซีอีกครั้ง)
คุณ Alex เพิ่งเดินทางกลับมาจากการเข้าร่วมประชุมเอเปคที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย
และเพิ่งกลับมาถึงสหรัฐ สภาธุรกิจนี้รวบรวมกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และกลางในสหรัฐไม่ต่ำกว่า
130 แห่ง รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อหาทางเบิกทางให้นักธุรกิจสหรัฐเข้าไปลงทุนในอาเซียนได้ชัดเจน
และลดอุปสรรค กลุ่มนี้เน้นให้ความสำคัญกับ Asean เป็นอย่างมาก
แต่อุปสรรคคืออาเซียยังไม่เป็นกลุ่มอย่างชัดเจน
กฎหมายการลงทุนของประเทศต่างๆมีข้อจำกัด รายละเอียด ปลีกย่อยแตกต่างกันไป เมื่อจะไปติดต่อประเทศใดก็ต้องทำความรู้จักกับกฎหมาย
กฎเกณฑ์ใหม่ทั้งหมด
กลุ่มสภาธุรกิจสหรัฐอาเซียนนี้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา
10 ชุดเพื่อดูแลแต่ละประเทศอาเซียน และอีกด้านมีคณะกรรมการ 9 ชุด
เพื่อดูเนื้อหาของกลุ่มธุรกิจแตกต่างกันออกไป เช่นคณะกรรมการ
ICT คณะกรรมการด้านความมั่นคง คณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
สภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน |
จุดประสงค์สำคัญของสภาธุรกิจนี้คือทำงานในเชิงผลักดันด้านนโยบาย
เปิดโอกาสการลงทุนและขจัดอุปสรรคทางการค้า โดยศึกษากฎหมายการลงทุนของแต่ละประเทศ
นำข้อมูลต่างๆที่มีให้กับนักธุรกิจสหรัฐเพื่อเปิดทางสู่การลงทุนต่อไป สภาธุรกิจให้ความสำคัญอย่างมากคือ
กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กของสหรัฐ ที่น่าจะทำการค้าร่วมกับอาเซียนได้ ที่ผ่านมาได้อบรมกลุ่มนักธุรกิจขนาดกลางและเล็กใน
เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แล้ว
แน่นอนว่าอีกเป้าประสงค์สำคัญของสภาธุรกิจนี้คือต้องการผลักดัน
TPP
(Trans-Pacific Partnership) กับหลายประเทศในอาเซียนด้วย โดยย้ำว่าสัดส่วนของ
TPP มีมูลค่า 40 เปอร์เซ็นต์ของการค้าโลก ฉะนั้นถ้าประเทศไหนไม่อยากตกขบวนก็ขอให้เข้าร่วม
นักธุรกิจสหรัฐยอมรับตรงๆว่าเป็นเรื่องสำคัญที่กำลังทำงานกับรัฐบาลสหรัฐ
และพูดคุยกับภาคธุรกิจในประเทศต่างๆ เพื่อให้เข้าร่วม TPP
ของอาเซียน ที่ร่วมไปแล้วคือสิงคโปร์ และบรูไน ที่กำลังอยู่ระหว่างพูดคุยอยู่คือ เวียดนาม
ขณะที่ไทยบอกว่าแสดงความสนใจ แต่ยังไม่มีความคืบหน้า
นัดที่สองคือหอการค้าสหรัฐ เรียกย่อๆว่า
AmCham (แอมแชม) จากชื่อเต็ม
American Chamber of Commerce พบกับคุณ John Murphy (รองประธานด้านนโยบายการต่างประเทศ) และคุณ
John Goyer (ผู้อำนวยการอาวุโส ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
คุณจอห์น โกเยอร์ และคุณจอห์น เมอร์ฟี่ |
เปิดประโยคแรกมาก็เรียกความสนใจไม่น้อย
เมื่อคุณ
John Murphy แนะนำตัวว่า “We are lobbyists and we are very
proud to do this. The First Amendment protects the rights of freedom and the
rights of speech.” คุณจอห์น บอกชัดถ้อยชัดคำว่า AmCham ก็คือ lobbyist (แปลแบบไทยๆ
คือกลุ่มวิ่งเต้น) เขาบอกว่าภูมิใจกับการทำงานนี้ และ
First Amendment ของสหรัฐปกป้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการพูด
ฉะนั้นการทำงานเป็นนักวิ่งเต้นเป็นเรื่องถูกกฎหมาย และทำได้อย่างโปร่งใส
คุณ John Murphy เสริมด้วยว่าคนมักจะมองว่า lobbyist แย่ไปซะหมด
ทำทุกอย่างเพื่อเงินและผลประโยชน์ของตนเอง แต่ที่จริงไม่ใช่ เพราะ lobbyist ดีๆก็มีมาก ที่ตั้งเป้าหมายช่วยเหลือรัฐบาลในเรื่องการสร้างบรรยากาศทางเศรษฐกิจเพื่อเอื้อต่อสิ่งแวดล้อม
เป็นต้น
AmCham มีอายุยาวนานไม่ต่ำกว่า 101
ปีและเป็นกลุ่มที่รวบรวมธุรกิจใหญ่ในสหรัฐที่ติดอันดับ Fortune 1000 มากที่สุด
วิธีการทำงานของ lobbyist คือพูดคุยกับทุกฝ่ายทั้งสมาชิกสภาคองเกรส ฝ่ายบริหาร ฝ่ายวิจัย
ตัวแทนต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับวาระแต่ละเรื่องว่าต้องการผลักดันทำงานเรื่องอะไร และวิธีการล๊อบบี้แต่ละเรื่องแตกต่างกันออกไปเช่นกัน
อีกหนึ่งหนทางคือการเขียนบทความต่างๆลงสื่อ โดยเฉพาะในหน้า op-ed เพื่อผลักดันวาระต่างๆ TPP เป็นเรื่องเร่งด่วนของ AmCham เช่นกัน
จากซ้าย คุณวิรไท สันติประภพ คุณจอห์น โต๊ะ มาเลเซีย ณัฏฐา โกมลวาทิน คุณจอห์น โกเยอร์ คุณตวน และคุณ ติน จากเวียดนาม |
หอการค้าสหรัฐมองว่าการค้าเป็นเรื่องสำคัญมาก
และถ้าสหรัฐดึงประเทศต่างๆเข้าร่วม TPP ได้มากก็จะยิ่งส่งเสริมการค้าโลก
และจะกลับไปสร้างงานให้คนอเมริกันมากขึ้นด้วย คุณเมอร์ฟีย์ระบุ
คุณ Murphy ระบุว่าแม้ AmCham อาจจะดูเหมือนเข้าข้างพรรครีพับลิกัน
แต่ที่จริงทำงานกับทั้งสองพรรค และต้องการวางแนวทางพูดคุยได้กับทุกฝ่าย
บอกชัดๆอีกเช่นกันว่าไม่เห็นด้วยกับ “Obamacare”
แต่ไม่เห็นด้วยที่พรรครีพับลิกันพยายามขัดขวางไม่ให้เพิ่มเพดานชำระหนี้
ตรงไปตรงมาอย่างมากสำหรับผู้ที่เรียกตนเองว่า
“lobbyist” ท่านนี้
คุยจบ 2 นัด เตรียมตัวออกเดินทางสู่มหานครนิวยอร์ค รถไฟตรงเวลา และสะอาด มี wi-fi มีปลั๊กไฟให้บริการอย่างเต็มที่ ตั๋วก็แพงสมคุณภาพ เที่ยวเดียวราคา 120 ดอลลาร์สหรัฐ ...นั่่งเพลินๆ 4 ชั่วโมงถึงนิวยอร์คแล้ว //
Times Square, here I come! |
No comments:
Post a Comment