10.11.10

blog tv: Burma Election 2010 # 2




คลิ๊กดู รายงาน "เลือกตั้งพม่า 2010" ตอนสอง บทบาทของผู้นำทหารพม่า โดยเฉพาะพลเอกอาวุโส ตานฉ่วย ผู้นำทหารสูงสุด ที่ครองอำนาจอย่างเด็ดขาดตั้งแต่ปี 1993 พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย จัดตั้งพรรค Union Solidarity and Development Party หรือ USDP เพื่อลงชิงชัยในการเลือกตั้ง และเป็นที่รู้กันว่าเป็นพรรคที่จะสืบทอดอำนาจของทหารในคราบพลเรือน หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ ขณะที่บทบาทของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD พรรคฝ่ายค้านของออง ซาน ซูจี ในการเลือกตั้งครั้งนี้เหลือเพียงแค่ชื่อ เพราะถูกยุบพรรคไปแล้วตามกฎหมาย

blog tv: Burma Election 2010 # 1




รวบรวม รายงานพิเศษ "นับถอยหลังเลือกตั้งพม่า 2010" ที่ทีมงานทีวีไทยผลิต มาให้ดูกันอีกครั้งนะคะ ปูพื้นตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2008 ที่ผู้นำทหารพม่าจัดให้ลงเสียงรับร่างประชามติกลางปี 2008 และเป็นข้อกำหนดที่นำไปสู่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่พลเอกอาวุโสดานฉ่วย ในฐานะผู้นำทหารสูงสุด วางไว้ว่าจะเป็นก้าวสำคัญของ Road Map to Democracy ของพม่า

จะนำตอนต่อๆไปมาโพสต์ให้ดูกันต่อนะคะ

28.9.10

blog tv: exclusive interview Saudi Envoy to Thailand




Click to watch my tv report on 80th National Day of the Kingdom of Saudi Arabia. The celebration is amidst tense relations between Thailand and Saudi Arabia. Nabil Hussein Ashri, Saudi Envoy to Thailand, talks to me how he feels after Pol.Gen.Somkid Boonthanom,announced not to accept the promotion as Assistant National Police Chief.

27.8.10

"Little Red Dot" Singapore



In an exclusive interview with Asean journalists on the occassion of 45th National Day of Singapore, Mr Lee Hsien Loong, admits to us that it is accurate to describe Singapore as "little red dot". He also insists that Singapore is not a superpower, not even an economic power in the world. He appears very modest with the fact that h Singapore has achieved highest economic growth rate in the world in the first half of 2010. Mr George Yeo, Foreign Minister, seems equally humble with the growth of Singapore. Why do they say so, though Singapore has all the reasons to enjoy its economic prosperity at the world level?

24.8.10

Singapore PM Lee Hsien Loong on Thailand and Cambodia





During the meeting with Asean journalists, on 12th August 2010, Mr Lee Hsien Loong, Singapore Prime Minister, has to respond to questions on Thailand and Cambodia conflicts over Phra Viharn issue. He confirms that the issue should be kept at bilateral level. The same respond also comes from Mr George Yeo, Singapore Foreign Minister.

20.8.10

สัมภาษณ์พิเศษ อดัม คาเฮน...กับฉากอนาคตประเทศไทย





ก่อนอดัม คาเฮน ผู้รู้กระบวนการสันติวิธี จะเดินทางกลับบ้านที่อัฟริกาใต้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ดิฉันมีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษชั่วโมงท้ายๆที่เขาอยู่เมืองไทย ครั้งนี้เขามาพร้อมกับคุณสตีฟ อัทคินสัน ผู้ช่วยเรื่องสันติวิธีเช่นกัน่ เป็นครั้งแรกที่ทั้งสองมาเมืองไทยตามคำเชิญของกลุ่มองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เป็นห่วงอนาคตของประเทศไทย

ด้วยความที่ผ่านความขัดแย้งมาหลายสนามทั้งในอัฟริกาใต้ กัวเตมาลา โคลัมเบีย และวิกฤตเศรษฐกิจในอาร์เจนติน่า อดัม คาเฮน นำวิธีที่เขาใช้กับประเทศเหล่านั้นเพื่อมา "เริ่ม"ลองใช้กับความขัดแย้งในไทย

องค์ความรู้ที่ใช้ในต่างประเทศจะใช้ในไทยได้หรือไม่ ขณะที่ทั้งสองออกตัวว่าเป็น "ฝรั่ง" ที่อาจจะยังไม่ได้เข้าใจความซับซ้อนของไทยเพราะเพิ่งมาเพียงไม่ถึงสัปดาห์ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะย้ำกับคนไทยว่า ปัญหาไม่ได้หนักหนาเกินไปนัก เขามั่นใจว่าจะแก้ได้ แต่คนไทยต้องเรียนรู้ที่จะแก้อย่างจริงๆจังๆ ก่อนที่ทุกอย่างจะแย่ไปกว่านี้

ติดตามดิฉันสัมภาษณ์เต็มๆในตอบโจทย์ ศุกร์นี้ 20 สิงหาคม 22.30 ในรายการที่นี่ ทีวีไทยค่ะ

14.8.10

เมื่อดิฉันสัมภาษณ์พิเศษ หลี่ เสียน หลง นายกฯสิงคโปร์





ผู้สื่อข่าวอาเซียน และดิฉัน มีโอกาสได้สัมภาษณ์พิเศษ หลี่ เสียน หลง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรี แถวถนนออร์ชาร์ด พวกเรามีเวลาเพียงแค่ 40 นาทีกับการสัมภาษณ์ผู้นำประเทศลอดช่องครั้งนี้ ต้องถามกันรัวหลายเรื่อง แน่นอนเรื่องไทย-กัมพูชา เป็นประเด็นสำคัญ และมีประเด็นการเลือกตั้งพม่า โครงการนิวเคลียร์พม่า-เกาหลีเหนือ กับความหมายต่ออาเซียน และบทบาทของสิงคโปร์ในภูมิภาค

ติดตามรายงานพิเศษทุกเรื่อง ทุกประเด็น ในทีวีไทย ตั้งแต่สัปดาห์ที่จะถึงนี้เป็นต้นไป

17.7.10

blog tv: ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเยือนไทย





William Burns, Under Secretary of State หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐมาเยือนไทย เพื่อมีการหารือเชิงยุทธศาสตร์ หรือ strategic dialogue กับไทยเป็นครั้งที่สาม

โอกาสความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ ครบรอบ 177 ปี Burns บอกได้เวลาเปิดศักราชใหม่ของ creative partnership หรือความเป็นพันธมิตรเชิงสร้างสรรค์ คุณกวี จงกิจถาวร บรรณาธิการอาวุโส เดอะเนชั่น บอกถึงเวลาแล้วที่ต้องปรับเพราะสองประเทศเหมือนคู่แต่งงานกันมานาน ความสัมพันธ์จืดชืดแล้ว

blog tv: ฝรั่งเศสออกกฎหมายห้ามผู้หญิงมุสลิมใช้ burqa






สส ฝรั่งเศส ลงคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นเห็นชอบผ่านร่างกฎหมายห้ามผู้หญิงมุสลิมใช้ผ้าคลุมศรีษะและตลอดลำตัวหรือ burqa และ niqab ในที่สาธารณะ มิเช่นนั้นจะต้องถูกปรับ 7,500 บาท สส กลุ่มแนวนิยมขวาและแนวสังคมนิยม ต่างเห็นด้วยกับข้อห้ามนี้ บอกว่าไม่ต้องการให้ผู้หญิงมุสลิมเป็นเหยื่อของกลุ่มสุดโต่งที่ใช้ข้ออ้างศาสนาบังคับผู้หญิง แต่ผู้หญิงมุสลิมบางคนมองว่าเป็นสิทธิส่วนตัวที่พวกเธอควรจะได้ตัดสินใจว่าจะใช้ burqa หรือไม่

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ นักสตรีนิยมของไทย มองว่าเป็นความซับซ้อนและความขัดแย้งระหว่างสิทธิส่วนบุคคล สิทธิของสตรี และสิทธิของความเป็นมุสลิม ขณะที่นักเคลื่อนไหวมุสลิมอย่างคุณอังคณา นีละไพจิตร บอกว่าประเด็นนี้ผู้หญิงมุสลิมก็เห็นต่าง และขึ้นอยู่กับการตีความคัมภีร์อุลกุรอ่านในแต่ละประเทศ

13.7.10

blog tv: Post World Cup Blues among South Africans



ไม่มีเสียง vuvuzela และจะไม่มีเสียงเชียร์บอลโลกร่วมกันไปอย่างน้อยอีก 4 ปีค่ะ ผู้คนทั่วโลกอาจจะรู้สึกเหงาๆเพราะชีวิตจะไม่ค่อยปกติ แต่คนอัฟริกาใต้อาจจะเหงายิ่งกว่า เมื่อความเป็นเจ้าภาพ World Cup 2010 สิ้นสุดลงไปแล้ว

เรียกได้ว่าเป็นการจัดงานที่ประสบความสำเร็จ ที่ชาวอัฟริกาใต้มุ่งมั่นร่วมกันมานานหลายปีนะคะ แม้จะมีข้อสงสัยในช่วงแรกๆ เพราะต้องทุ่มงบประมาณมากมายมหาศาลกว่า 180,000 ล้านบาท และรายได้ที่กลับมาก็พอๆกัน เรียกว่าแทบจะไม่ได้ผลประโยชน์เป็นตัวเงิน แต่ผู้จัดงาน ผู้นำประเทศ และคนอัฟริกาใต้ ดูเหมือนจะเห็นพ้องว่า ความเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก นำความภาคภูมิใจ และความรวมกันเป็นหนึ่ง ลบความรู้สึกบอบช้ำจากยุคแบ่งแยกสีผิวไปได้มากทีเดียวค่ะ

blog tv: อ.เชียรช่วง บอกถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องว่าจ้าง lobbyist



นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย ยอมรับว่าไทยได้เซ็นสัญญวว่าจ้างบริษัท Podesta Group ของสหรัฐจริง โดยบอกว่าเป็นบริษัทประชาสัมพันธ์ ขณะที่ ดร.เชียรช่วง กัลยาณมิตร ผู้รู้ในวงการ lobbyist บอกว่าบริษัทประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะต่อสู้กับบริษัท lobbyist ที่ว่าจ้างโดยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ถ้าต้องการสร้างความเข้าใจในเวทีโลก โดยเฉพาะในสภาคองเกรสของสหรัฐ

blog tv: "ทักษิณ"จ้างล๊อบบี้ยิสต์ 3 บริษัท รัฐบาลไทยรับ...จ้างพีอาร์



Letter of Disclosure Forms ของทางการสหรัฐ มีรายงานว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ว่าจ้างล๊อบบี้ยิสต์ถึง 3 บริษัท ด้วยมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท ขณะที่มีรายงานยืนยันว่ากระทรวงการคลังของไทยเซ็นสัญญาว่าจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ของสหรัฐ เพื่อเสริมภาพลักษณ์ของไทยด้วย

10.7.10

blog tv: องค์ดาไลลามะ ครบรอบ 75 ปี ในปี 2010




องค์ดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของคนธิเบต แบกความหวังของคนธิเบตทั้งมวลไว้มาตลอดเมื่อผู้คนต้องการเป็นเอกราชจากประเทศจีน ปีนี้ครบรอบ 75 ปีวันคล้ายวันเกิดของพระองค์ และครบรอบ 51 ปีทีพระองค์ต้องหนีออกนอกประเทศพร้อมกับคนธิเบตอีกกว่า 80,000 คน เพราะการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลจีนไม่สำเร็จ

วันนี้พระองค์สุขภาพค่อนข้างย่ำแย่ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อไม่นานมานี้ ท่ามกลางความหวังของคนธิเบตที่ไม่มั่นใจในอนาคตของตน ถ้าปราศจากพระองค์เป็นศูนย์รวมจิตใจ

6.7.10

Blog TV: 60ปี สงครามเกาหลี...ทำไมเกาหลีใต้ถึงพัฒนาไปไกล



คลิ๊กชม blog tv: ครบรอบ 60ปี สงครามเกาหลี

ไทยเป็นชาติแรกในเอเชียที่ส่งทหารไปร่วมรบกว่า 6,300 นาย ในเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างสองเกาหลี "สงครามเกาหลี" เมื่อกองทัพเกาหลีเหนือ บุกเกาหลีใต้ เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทยบอกเป็นการต่อสู้ระหว่างอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ของเกาหลีเหนือ และการคงไว้ของระบอบตลาดเสรีของเกาหลีใต้

60 ปีผ่านไป สองเกาหลียังไม่ปรองดอง แถมยังมีประเด็นอีกมากมายที่กีดขวางสองเกาหลี ทั้งเรื่องโครงการนิวเคลียร์ และภัยด้านความมั่นคงเมื่อการตรวจสอบจากนานาชาติเห็นพ้องว่าเกาหลีเหนือยิงตอร์ปิโดเพื่อจมเรือของกองทัพเรือเกาหลีใต้ เมือ 26 มีนาคม 2553 กลายเป็นเรื่องร้อนระอุเมื่อเกาหลีใต้ต้องการคำขอโทษอย่างเป็นทางการจากเกาหลีเหนือ

ท่านเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย บอก เกาหลีใต้ เป็นผู้ใหญ่พอที่จะแยกการเมืองและกีฬา ออกจากกัน เมื่อเกาหลีเหนือเข้ารอบฟุตบอลโลก 2010 ก็ดีใจด้วย แถมยังหยอดว่าถ้าไทยต้องการพัฒนาฟุตบอลทีมชาติ เกาหลีใต้พร้อมให้การสนับสนุนเต็มที่ เพราะตอนนี้ไทยกับเกาหลีใต้ใกล้ชิดกันอยู่แล้ว มี "นิชคุณ" นักร้องไทยที่ร่วมวง 2PM ของเกาหลีใต้อยู่แล้ว แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีของสองประเทศ

ท่านทูตชอง แฮ มูน ปิดท้ายว่าคนเกาหลีใต้ระลึกถึงวีรกรรมที่กล้าหาญของทหารไทยเสมอ ที่เสียสละไปร่วมรบเมื่อ 60 ปีก่อน

3.7.10

Blog TV: "Mandela Model" TRC and Thailand





คลิ๊กชม blog tv: "แมนเดล่า โมเดล" กับ ไทย

ไทยยังต้องเดินกันอีกหลายๆก้าว เพื่อกระบวนการตั้ง "Truth and Reconciliation Commission" หรือ คณะกรรมการปรองดองเพื่อการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ช่วงรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คอป.ไทย ที่ ศ.คณิต ณ นคร เป็นประธาน ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศสองท่านที่ผ่านประสบการณ์ TRC มาแล้วในอัฟริกาใต้ และ เซียร่า เลโอน

คนไทยอาจจะกำลังฝันถึง "แมนเดล่า โมเดล" ว่าจะเป็นทางออกเพื่อแก้ความขัดแย้งในสังคมไทย ทั้ง Priscilla Hayner และ Howard Varney บอกแนวทางการทำงานในอัฟริกาใต้ก็ต้องผ่านความผิดพลาดมากมาย แต่ไทยก็คงจะไปนำรูปแบบของอัฟริกาใต้มาใช้ตรงๆไม่ได้ เพราะประวัติศาสตร์ และ รูปแบบความขัดแย้งต่างกัน

Howard ย้ำว่า มีวีรบุรุษอย่าง "แมนเดล่า" ช่วยได้แน่นอน เป็นโชคดีในโชคร้ายของอัฟริกาใต้ แต่ไม่ใช่ทุกประเทศจะมีผู้ที่มีคุณสมบัติที่มีบารมีสูงเหมือนแมนเดล่า

26.6.10

Blog TV: เอกอัครราชทูตควินตัน เควลย์ บอกหวังให้อังกฤษเป็นแชมป์บอกโลก 2010





คลิ๊กชม Blog TV สัมภาษณ์เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย


พออังกฤษเข้ารอบสองฟุตบอลโลก 2010 ดิฉันก็ได้สัมภาษณ์ท่านทูตควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ว่าตั้งความหวังไว้สูงขนาดไหน

แถมยังได้ไปเห็น รถ "Mini Cooper" รุ่นล่าสุด ที่บริษัทให้ท่านทูตยืมมาใช้ช่วงแข่งบอลโลก รถคันนี้ท่านทูตควินตัน ขับไปเชียร์ที่ผับ "Londoner" คืนวันที่ 23 มิถุนายน วันที่อังกฤษ แข่งกับ สโลเวเนีย แล้วชนะไปได้ 1-0 ค่ะ

เจ้า Mini คันนี้ จะได้อยู่กับท่านทูตไปจนกว่าอังกฤษจะตกรอบ

ประวัติรถ Mini ไม่ธรรมดานะคะ ถือได้ว่าเป็นรถต้นแบบของยุค 1960s ผลงานของนักออกแบบอังกฤษ Sir Alec Issigonis เพื่อแข่งกับรถ Volkswagen Beetle ของเยอรมนี (นอกจากจะแข่งกันในสงคราม การออกแบบรถ แล้วยังแข่งกันเรื่องบอลด้วย ระหว่างอังกฤษและเยอรมนี)

Mini ขึ้นชื่อเรื่องพื้นที่ใช้สอยกว้างขวาง จุคนนั่งได้มากและใส่กระเป๋าเดินทางได้ในช่วงที่วางเท้า (จากที่ได้สัมผัสรถหรูคันนี้ สมคำร่ำลือจริงๆ เรื่องความกว้าง และความแน่นของเครื่อง และความแข็งแกร่งของตัวถัง)


โรงงานผลิตหลักมินิอยู่ที่เมือง Longbridge และ Cowley, Oxfordshire ของอังกฤษค่ะ แต่เจ้าของก็คือ BMW ไปแล้วค่ะ

21.6.10

blog tv: สื่อสังคม กับรางวัลสื่อภาคสนาม 2010





ช่วงวิกฤตความขัดแย้งกับเหตุปะทะและเหตุจลาจล โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ได้เห็นการทำงานของผู้สื่อข่าวภาคสนาม เกาะติดสถานการณ์และรายงานผ่านการส่งข้อความสั้นๆ "ทวิตเตอร์" เป็นมิติใหม่ของการรายงานผ่าน "social media"

นิตยสาร PC World เห็นคุณค่าของการทำงานในครั้งนี้ และได้ให้รางวัลแก่สำนักข่าว และผู้สื่อข่าวที่ใช้สื่อสังคม กับการรายงานครั้งนี้ค่ะ

@nnanews: Nation News Agency ได้รางวัลสำนักข่าวยอดเยี่ยม
@ThaiPBS : สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ได้รางวัลสำนักข่าวดีเด่น
@news1005fm :คลื่นข่าว fm 100.5 ได้รางวัลสำนักข่าวดีเด่น
@noppatjak : นภพัฒน์จักษณ์ อัตตนนท์ ผู้สื่อข่าวเครือเนชั่น ได้รางวัลนักข่าวผลงานดีเด่น

ขอบคุณผู้บริหาร PC World กับการมอบรางวัลค่ะ

ขอแสดงความยินดีกับทีมข่าวภาคสนามทุกท่าน ทุกสำนักข่าวค่ะ โดยเฉพาะกับการเปิดโลกการใช้ social media และจะมีก้าวต่อๆไปในอนาคต

19.6.10

15 ปี ใน 21 ปี ที่ไร้อิสระภาพของ "อองซาน ซูจี"


15 ปีที่ต้องถูกคุมขัง ตลอด 21 ปีที่ผ่านมา และจะอีกนานเท่าไร

ไม่รู้จะอีกนานเท่าไร ที่ทั่วโลกจะต้องจัดงานฉลองให้กับออง ซาน ซูจี สัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า โดยที่เจ้าตัวไม่มีโอกาสได้ร่วมรับรู้ว่าชาวโลกจัดงานฉลองให้เธออย่างไร
19 มิถุนายน 2553 ครบรอบวันคล้ายวันเกินปีที่ 65 ของออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านผู้แข็งแกร่งของพม่า แม้ซูจี จะถูกคุมขังภายในบ้านพักของเธอที่กรุงย่างกุ้งเกือบ 15 ปีเต็ม ในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา พลังของอองซาน ซู จี ในฐานะผู้นำที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของพม่ายังคงอยู่ และเป็นที่จดจำของผู้คนทั่วโลกในฐานะผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ National League for Democracy (NLD) ที่นำพาพรรคชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อปี 2533 และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ได้ครองเสียงถึง 394 จาก 492 ที่นั่ง แต่ซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน ลูกสาวนายพลอองซาน วีรบุรุษของคนพม่า กลับต้องถูกคุมขังภายในบ้านพักของตนเอง ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งด้วยซ้ำ และผลการเลือกตั้งถูกประกาศเป็นโมฆะ

20 ปีเต็มผ่านไป ความยิ่งใหญ่ของพรรค NLD ยุติลงไปแล้ว พร้อมกับการถูกยุบพรรค เมื่อสมาชิกอาวุโสส่วนใหญ่ของพรรคตัดสินใจไม่ร่วมแข่งขันการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ที่รัฐบาลทหารพม่าจะจัดขึ้นในปีนี้ (ที่จนถึงขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีขึ้นเมื่อไร) ซึ่งถือว่าขัดกับรัฐธรรมนูญและต้องถูกยุบพรรคในที่สุด ทุกวันนี้สมาชิกพรรคกว่า 2,000 คนเป็นนักโทษทางการเมือง จำนวนมากถูกคุมขังอยู่ที่คุกอินเส่ง และสมาชิกพรรครุ่นหลังจำนวนหนึ่งตัดสินใจลงเลือกตั้งในนามพรรคใหม่ ทำให้พรรค NLD ณ วันนี้ เหลือเพียงชื่อเท่านั้น

ประเทศเสียงดังทางตะวันตกอย่างสหรัฐ และ อังกฤษ พยายามจัดงานวันคล้ายวันเกิดให้กับซูจี และเปล่งเสียงกดดันรัฐบาลทหารพม่าไปพร้อมๆกันด้วย แต่เสียงเหล่านั้นดูเหมือนจะไม่หนักแน่นเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นจดหมายของอดีตนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ของอังกฤษ ที่บอกว่า “เป็นหน้าที่ของพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นใคร จะต้องร่วมกันต่อสู้เพื่ออิสระภาพของอองซาน ซูจี และเพื่อรักษาประชาธิปไตยต่อไป” หรือเสียงของเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของอังกฤษ ที่ว่าหนึ่งในเป้าหมายหลักของนโยบายต่างประเทศอังกฤษ คือต้องกดดันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพม่า หรือเสียงจากสหประชาชาติที่ดูแลเรื่องการกักขังซูจีโดยเฉพาะ ออกแถลงการณ์ว่า “การกักขังหน่วงเหนี่ยวอองซาน ซูจี เป็นการกระทำตามอำเภอใจ และถือเป็นการริดรอนเสรีภาพ ที่ผิดมาตรการที่ 9, 10, 19 และ 20 ของ ปฏิญญาสากลเรื่องสิทธิมนุษยชน” เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย บอกว่าแคนาดาจะสนับสนุนการต่อสู้ของอองซาน ซูจี ต่อไป และแคนาดาได้คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่าอย่างหนักหน่วงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น
ด้านนโยบายไทย อ.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพม่าบอกว่า แม้รัฐบาลไทยจะดูเหมือนมีแนวทางสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่าด้วยการนำเข้ากาซธรรมชาติอยู่ แต่ประเทศไทยก็อยู่ในจุดที่จะกดดันพม่าได้มากขึ้นในอนาคต และบอกว่าหวังว่าจะได้จับมือกับอองซาน ซูจี เป็นคนแรกถ้าซูจีได้รับการปล่อยตัวและได้เดินทางมาประเทศไทย

ดูเหมือนเสียงจากนานาชาติและเสียงซูจีจะประสานกัน เมื่อซูจี ฝากข้อความในจดหมายที่ต้องลักลอบนำออกไปจากพม่า และเขียนด้วยลายมือของเพื่อนร่วมอุดมการณ์ U Win Tin สะท้อนคำพูดของซูจี และได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ The Independent ของอังกฤษว่า “Please use your liberty to promote ours” (ได้โปรดใช้เสรีภาพที่พวกคุณมี เพื่อส่งเสริมเสรีภาพของคนพม่าด้วย) แต่กีปีแล้วที่ทั้งนานาชาติ และ อองซาน ซูจี ได้แต่เพียงเปล่งเสียง

หวังว่าวันคล้ายวันเกิดปีหน้า อองซาน ซูจี จะไม่ต้องมีคำร้องขอเช่นนี้อีกต่อไป...

16.6.10

Blog TV: Third Part of Interview with Michael Yon

This is the last part of 15-minute interview with Michael Yon. He answered whether Thailand came close to civil war and how he likes to be called "peace correspondent"

Blog TV: Second Part of Interview with Michael Yon

The full interview was broadcast on TPBS on Monday 14th June 2010.

This is the second part of the interview, I asked Michael the extent to which Thailand is different from war zones like Iraq and Afghanistan.

Blog TV: First Part of Interview with Michael Yon

I asked Michael Yon, an independent war correspondent, what he saw during the clashes and riot in Rachaprasong area, the main protest area of the red-shirts.

This is the firt part of the interview.

15.6.10

"Michael Yon" examines Bangkok







First part of my interview with Michael Yon, an independent war correspondent. We walked around Rachprasong on 10th June 2010, the main protest area of the red-shirts, around three weeks after the riot had ended on 19th May, 2010.

Q: This is the first time to see riot places after it has ended, what is your first assessment? M
A: One thing that I ‘ve been am looking for is the evidence of the fighting. During the fighting the army was very controlled of their fires, they used much disciplines, and you can see from the signs from the building not bullet holes in many places, very few, so it means they controlled how they aim.

Q: What would happen to mirror of the department store, if they don’t follow the operation closely?
A: Another thing about troops that are not well-trained, they will shoot high because they don’t know what they are doing, that’s normal, what human will do they will shoot high. From what I have been looking up high there are no bullet marks up high , except when I saw the red shirts used slingshot to hit the windows, but I don’t see bullet holes in the window. They simply were not hitting the building, the firework hit the buildings, I was watching the red shirts shoot firework, in fact I was in the Dusit Thani hotel talking on the telephone when the grenades hit the hotel, they hit between two of the rooms it was quite serious, luckily nobody was hurt.

Q: How many days you were on the street of Bangkok during the protest and the riot?
A: Good question, may be, I should try to count that up, may be 7 to ten days..yeah about a week.

Q: So you have been here all along and did you see any men in black from the accusation, from the question raised.
A: Yes, I was this close, I photographed them. They had fire bombs and I photographed them. They are not men in black who were the guards, I saw them too, but these were the men in black and they were like soldiers. They were not normal soldiers. To me, you know I spent a lot of time with soldiers in the war and the “Men in Black” that I saw seem like special forces people, very confident, they knew what they were doing and they are not afraid of gunshots that were coming very close to us, they were moving very close toward the gunshot and these were not normal guys, very dangerous individuals.

Q: Did you talk to them, which side they were on?
A: No, because they were busy, I mean when I was with them the fighting started and they would come out so the fighting was really going on so I did not have a chance to talk to them. And then when the fighting was in they disappeared.

Q: Have you talked to any military or any soldiers during the operation?
A: Mostly I just watched them. I watched them very closely for hours at a time, how they treated people because this is very important in the war if the soldiers and the police mistreat the people they will be hurt, the people will fight back, so I was watching them very closely and the Thai military using discipline and they treated people with respect, yes they were in every case. They never stopped me from photographing as an example, never saw them mistreat any Thai people or any foreigners or any journalists. If they stopped anybody from photographing I did not see it, they did not stop, the red shirts did not stop me either. So the police, the army the red-shirts, everybody let me go everywhere nobody stops me from seeing anything.

Q: Where were your spots while observing, behind the military or behind the red shirts?
A: Both..not always behind either, sometimes, between. For instance, I was here which was the main red shirt area and I was here many times.

Q: Did you walk around freely?
A: Oh yes, yes…walked around and people were here, they were sleeping in the middle over there, they were some children who were unaccounted for.

Q: Don’t you have any fear?
A: Well they treated me well, but it is dangerous, but it is Thai people. Seriously, they are not going to kill somebody like in Afghanistan

Q: You are a war correspondent and you are quite used to Iraq and Afghanistan, what’s the difference between Thailand and those countries.
A: Well, Thailand is more resistant to fighting. In Afghanistan, fighting is like guerrilla warfare, fighting is like soccer to them, just like a sport. I am serious, I mean it is a kind of funny, but it is actually serious. They take guerrilla warfare like a sport. Thailand is not like that, Thailand is more resistant to fighting so there is a great hope that this war can be stopped before it started and that is important now because at this moment the government is stronger than it will ever be so if the war starts it will become weaker and weaker so now is the chance to make sure that it does not start so that’s what important to me now because I love Thailand.

The second part to be continued.

14.2.10

เสวนาอุษาคเนย์ เรื่องพม่า




ยุทธศาสตร์การเมืองพม่าเป็น roadmap ที่มีถึง 7 ขั้นตอนค่ะ และหนึ่งในก้าวสำคัญก็คือการเลือกตั้งในพม่า ตอนนี้มีความเป็นไปได้สูงว่ารัฐบาลทหารระดับอาวุโสของพม่าจะจัดการเลือกตั้งกันในเดือนตุลาคมปี 2010 การเลือกตั้งครั้งนี้รัฐบาลพม่าบอกว่าจะเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่ในทางปฏิบัติมีแต่คนกังขา เมื่อยังไม่ชัดเจนด้วยซ้ำว่าฝ่ายค้านอย่างพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย(NLD)จะได้เข้าร่วมเลือกตั้งหรือไม่ อองซาน ซูจี ก็ยังถูกคุมขังอยู่ในบ้านพัก คนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ต่างๆล้วนส่งเสียงไม่พอใจกับแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทหาร ปรากฎการณ์ต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นในพม่าล้วนส่งผลต่อคนไทย ประเทศที่มีพรมแดนติดกับพม่าและมีผู้คนข้ามมาเพื่อหนีการสู้รบภายในพม่าด้วย ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเพื่อนบ้านไทยจะละเลยไม่ได้และจะต้องรู้ด้วยกำลังส่งผลอะไรต่อไป ต่อนโยบายต่างประเทศของไทย และประชาคมโลก ....และความเป็นอาเซียน

เชิญท่านที่สนใจร่วมงานสัมมนาอุษาคเนย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง ยุทธศาสตร์การเมืองพม่า 2010
ดิฉันจะร่วมซักถามวิทยากรผู้รู้เรื่องพม่า เพื่อช่วยกันต่อยอดความรู้ "พม่าศึกษา" ด้วยค่ะ
วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 13.00-16.30 ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ค่ะ

15.1.10

นายกฯพบ fcct ปีที่สอง







เป็นครั้งที่สองแล้วค่ะ ที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มาพบปะกับบรรดาผู้สื่อข่าวต่างชาติในประเทศไทย (Foregint Correspondents Club of Thailand: FCCT) เป็นธรรมเนียมของนายกรัฐมนตรีที่จะได้รับเชิญ เพราะผู้สื่อข่าวอยากฟังวิสัยทัศน์และที่สำคัญอยากซักถามตรงๆ

ตอนเปิดงานประธาน fcct บอกว่าพูดตรงๆปีที่แล้วตอนที่นายกฯอภิสิทธิ์มาไม่คิดว่าจะอยู่ครบปี พอนายกฯได้โอกาสพูดบ้างก็บอกว่า "ปีนี้ พวกคุณก็คงคิดว่าผมจะอยู่ไม่ถึงปีหน้า" เริ่มเปิดฉากก็พอจะเรียกเสียงหัวเราะและทำให้บรรยากาศผ่อนคลายลงได้บ้างค่ะ

ช่วงเวลาสำคัญของงานเห็นจะไม่ได้อยู่ที่ สิ่งที่นายกฯเตรียมมาพูด ที่จริงดิฉันได้แอบเห็นสุนทรพจน์ที่เตรียมไว้ พอถึงเวลาจริงๆ นายกฯพูดลื่นไหวไปตามธรรมชาติ ไม่ได้อ่านเลยค่ะ เรียกได้ว่าทุกอย่างมาจากสมอง แต่คงจะเป็นเพราะคุ้นเคยทำงานอยู่กับเรื่องเหล่านี้ตลอดเวลาอยู่แล้วเลยลื่นไหลเป็นอย่างดี พูดเต็ม 30 นาที กับประเด็นเศรษฐกิจฟื้นตัว การสร้างความสมานฉันท์ทางการเมือง ปัญหาภาคใต้ บทบาทของไทยในฐานะประธานอาเซียน และเวทีโลก

แต่ไฮไลท์ที่สุดอยู่ที่ช่วงคำถาม คำตอบ Question and Answer session นี่ละค่ะ เพราะเดาไม่ถูกเลยว่าผู้สื่อข่าวกว่า 300 คน ที่มาจากแตกต่างประเทศจะถามเรื่องอะไรกันบ้าง ปีนี้ตามประสาผู้สือข่าวต่างประเทศก็คงจะอยากรู้เรื่องการเมืองมากเป็นพิเศษ เพราะสถานการณ์การเมืองกำลังร้อน และมีความเคลื่อนไหว ผู้สื่อข่าวสนใจกันมากกับบทบาทของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี

Q: what is the role of Gen. Prem, Does he involve in policy making or having any role in moral guidance?
A: Gen. Prem is the chair of privy council. That’s his role is the advisor to the King. I can safely tell you that last year, I met Gen. Prem, first to say Happy New Year, second time to Happy Birthday...I must get lost in translation, Speaking Thai will be more eloquent. (audiences laughing...)

นายกฯตอบว่าบทบาทของพลเอกเปรม คือประธานองคมนตรี เป็นที่ปรึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปีที่แล้วได้พบกับพลเอกเปรมเพียงสองครั้ง คือตอนสวัสดีปีใหม่ และ สุขสันต์วันเกิดเท่านั้น

จะเห็นว่าเป็นคำตอบสั้นๆที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้ลงรายละเอียดมาก และเรื่องกฎหมายหมิ่นสถาบันก็เป็นอีกประเด็นที่โดนตั้งคำถาม และนายกฯตอบติดตลกว่าเรื่องนี้ได้รับคำแนะนำไว้แล้วว่าจะต้องถูกถามแน่นอน ผู้สือ่ข่าวต่างชาติเกร็งกันพอสมควรกับกฎหมายนี้ค่ะ และบอกว่าถ้าเป็นไปได้ไม่อยากให้มีกฎหมายนี้ในประเทศไทย นายกรัฐมนตรีบอกว่ามีคณะทำงานขึ้นมาแล้วเพื่อสร้างความชัดเจน แต่ก็ย้ำว่าเรื่องนี้ละเอียดอ่อนสำหรับสังคมไทย

ยังมีอีกหลายประเด็นที่โดนตั้งคำถามมาก อย่างเช่นคำสั่งยึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาทของพันตำรวจโททักษิณ ทีศาลจะตัดสินในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นายกฯยอมรับว่าเป็นเรื่องที่จะต้องเกิดการชุมนุมทางการเมืองแน่นอน แต่จะพยายามคุมให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยตามกฎหมาย และเรื่องการขอส่งตัวคุณทักษิณกลับจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็บอกว่าเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่เคยห้ามคุณทักษิณกลับไทย อยากให้กลับมาด้วยซ้ำแต่ต้องมาตามแนวทางกฎหมาย

โดยรวมผู้สือข่าวต่างชาติก็สนุกสนาน ตั้งอกตั้งใจฟังกับลีลาการตอบคำถามของนายกรัฐมนตรี และบอกว่าบุคลิกและคำพูดแสดงถึงความเป็นผู้นำ แต่สิ่งที่ยากกว่าพูดก็คือการปฏิบัติงานจริงๆ

12.1.10

อุปทูตซาอุฯแถลง...กังวลผลคำสั่งคดี จะไม่น่าพอใจ




บางส่วนของแถลงการณ์ นายนาบิล ฮุสเซน อัชรี อุปทูตซาอุดิอาระเบีย ประจำประเทศไทย หลังพบนายกฯอภิสิทธิ์ เช้าวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2553…1 วันก่อนอัยการสูงสุดมีคำสั่งคดีลอบสังหารนักธุรกิจซาอุฯ นายอัลลูไวรี่

“….It would be a historic moment after 13 successive governments to achieve these positive developments , which my country and government anxiously awaits.

I also requested that the current government and all officials should ensure transparency and justice without any interference whatsoever in the justice process, keeping in mind that greater causes and benefits for both our nations. Although the embassy has no authority or intention in interfering with any internal legal proceedings or decision, I believe that we have been fair, patient and understanding so far, despite being aware of strong lobbying efforts by some figures to influence the legal process and the course of justice in the latest developments. I do however not that it is in the best interest for all sides that justice is served, and commitments and promises are upheld, in order to rebuild trust and erase any shaken memories and restore lost confidence.

….Shortly after my meeting this morning I learned that there has been some last minute changes in the legal bodies overseeing the case of Mr. Alrwili.”


เต็มไปด้วยความคาดหวังของอุปทูตซาอุฯ ที่มาประจำในไทยสามปีครึ่งแล้วนะคะ ท่านอุปทูตบอกว่า “ลุ้น” กับผลการตัดสินในครั้งนี้มาก และมีความหวังในทางที่ดีมาตลอด จนกระทั่งเข้าพบนายกรัฐมนตรีเมื่อเช้านี้ เพราะพอประชุมเสร็จ ได้รับทราบว่ามีความพยายามของคนบางกลุ่ม ที่วิ่งเต้นเพื่อแทรกแซงการทำงานของอัยการสูงสุด

เหลืออีก 10 ชั่วโมงเท่านั้นค่ะ ที่จะได้รับทราบว่าความสัมพันธ์ทางการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและซาอุดิอาระเบีย จะเดินก้าวหน้า…หรือถอยหลัง …กับผลคำสั่งคดีจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง 5 ผู้ต้องหา คดีอุ้มสังหาร อัลลูไวรี เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน

อนาคตของแรงงานไทยที่เตรียมจะไปทำงานที่ซาอุฯแขวนอยู่บนคดีนี้ด้วยค่ะ ถ้าออกมาชัดเจนว่าคนทำผิดจะถูกลงโทษ ความสัมพันธ์จะได้รื้อฟื้น...แต่ถ้ายังคลุมเครือหรือเจอ "โรคเลื่อน" ความสัมพันธ์ก็จะชะงักต่อไป