2.12.12

หน้าผาการคลังสหรัฐ: Fiscall Cliffs และสภาเป็ดง่อย

ภาพกราฟฟิค หน้าผาการคลัง จาก Washington Post 


ถูกพูดถึงกันไม่เว้นแต่ละวันว่าสภาคองเกรสจะเดินหน้าแก้ไขปัญหา "หน้าผาทางการคลัง" หรือ fiscal cliffs กันอย่างไร เป็นปัญหาจริงๆที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ต้องเผชิญหลังจากได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยที่ 2 

ตอนนี้สื่อกำลังติดตามเรื่องนี้กันอย่างหนัก สภาคองเกรสถูกจับตามองและถูกเรียกว่า "สภาเป็ดง่อย" หรือ "lame duck congress" ที่ถูกปรามาสว่า สส. สองพรรคคือรีพับลิกันและเดโมแครต ต่างพยายามเอาชนะคะคานกัน ขัดกันไปขัดกันมา จนทำให้สส.ที่จะต้องทำหน้าที่ออกกฎหมาย พูดคุยกันไม่ได้และยิ่งฉายภาพสภาคองเกรสที่แบ่งแยกกันหนักถึงขั้นตอกย้ำ "super bipartisanship" ที่พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากในสภาล่าง พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาสูง

หน้าผาทางการคลังคืออะไร่ ทำไมต้องสู้กันแทนที่จะช่วยกันโอบอุ้มประเทศ? 

Fiscal Cliffs คือคำที่เรียกกันสั้นๆ สำหรับภาวะที่รัฐบาลสหรัฐจะต้องเผชิญก่อนสิ้นปี 2012 หรือเป็นวันที่กฎหมายควบคุมงบประมาณ 2011 จะมีผลบังคับใช้ 

กฎหมายสำคัญๆที่จะมีผลต้องเปลี่ยนแปลงตอนเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม 2555 คือกฎหมายผ่อนคลายภาษีชั่วคราว กฎหมายงดเก็บภาษีชั่วคราวต่อธุรกิจบางกลุ่ม และเป็นจังหวะที่การตัดลดงบประมาณจะมีผลบังคับใช้เช่นเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าโครงการรัฐบาลกว่า 1000 โครงการที่เกี่ยวข้องกับงบกระทรวงกลาโหม และเมดิแคร์ หรือระบบดูแลสุขภาพ จะต้องถูกเข้าแถวเรียงหน้า "ตัดงบ" อย่างหนัก 

พูดง่ายๆ ภาวะผ่อนคลายทางภาษีจะต้องสิ้นสุด พร้อมๆกับการตัดลบงบประมาณในโครงการจำนวนมากจะต้องเกิดขึ้น 

ทางออกคืออะไร 

1. ถ้าเดินหน้าตามกฎหมาย ปัญหาที่จะตามมามาคือจะต้องเพิ่มภาษีอย่างมโหฬารและตัดลดงบประมาณอย่างมหาศาล การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐจะต้องชะงัก และเป็นไปได้ที่จะเดินหน้าเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ในแง่ดีคือ งบประมาณขาดดุลจะลดลง โดยเมื่อเทียบกับจีดีพี จะลดลงถึงครึ่ง 

2. รัฐบาลอาจจะยกเลิกมาตรการขึ้นภาษี และลดรายจ่าย แต่จะทำให้การขาดดุลสูงขึ้น และเป็นไปได้ว่าสหรัฐจะต้องเผชิญวิกฤตคล้ายๆกับที่กำลังเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศเขตยูโร  แต่ที่พอจะเป็นข้อดีคือเศรษฐกิจสหรัฐจะโตต่อไป 

3. ทางสายกลาง หาทางวางนโยบายที่จะแก้ปัญหางบประมาณ แต่แน่นอนทางเลือกนี้จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่มากก็น้อย 

ดูทางออกแล้วอาจจะไม่ยากนัก แต่อย่างที่เกริ่นไว้นะคะ "lame duck" congress ถูกจับตามอง เพราะ
พรรครีพับลิกันมีจุดยืนต้องการตัดงบประมาณและหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษี ขณะที่เดโมแครตต้องการทำให้ได้ทั้งสองแบบคือตัดงบประมาณและขึ้นภาษีไปพร้อมๆกัน ทั้งสองพรรคต้องการหลีกเลี่ยงหน้าผาทางการคลัง อีกหนึ่งฉากคือสมาชิกสภาคองเกรสจะไม่เริ่มทำงานอย่างเป็นทางการจนกว่าจะถึงวันสาบานตนในวันที่ 3 มกราคม ปี 2013 จึงเป็นหน้าที่ที่สมาชิกคองเกรสรุ่นปัจจุบันนี้จะต้องหาทางออกกันให้ได้ 

ดูตัวเลขกันชัดๆ 

ถ้ากฎหมายควบคุมงบประมาณ 2013 มีผลบังคับใช้ และรัฐบาลสหรัฐตัดสินใจเดินหน้าการขึ้นภาษีและตัดงบประมาณ แน่นอนจะช่วยลดการขาดดุลปัญชีเดินสะพัด $560,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่จีดีพีจะลดลงถึง 4 จุดเปอร์เซนต์ในปีหน้า ส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก การตกงานจะมากขึ้น คาดว่าอาจจะสูงถึง 2 ล้านตำแหน่ง 

นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ปัญหาหน้าผาการคลังจะไม่เห็นผลทันที ถ้ารัฐบาลเดินหน้าการควบคุมงบประมาณ แต่คนมะกันอาจจะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายและจะส่งผลให้เศรษฐกิจเซื่องๆซึมๆในระดับหนึ่ง  

นึกภาพหน้าผารออยู่ข้างหน้า จะเดินต่อไปได้อย่างไร ต้องหาไม้มาพาดเพื่อให้เดินหน้าข้ามหน้าผาไปให้ได้ แต่ไม้นั้นจะมั่นคงแข็งแรงหรือไม่และจะมีใครช่วยพยุงเพื่อให้ผ่านพ้น ที่ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรผลจากเศรษฐกิจมะกันก็คงจะสะเทือนมาถึงเอเชียและไทยไม่มากก็น้อย 

3.11.12

โค้งสุดท้าย 4 วัน ก่อนเลือกตั้งสหรัฐฯ

สื่อมะกันบอกไม่อยากให้มองการแข่งขันหนนี้ "เป็นม้าแข่ง" ว่าใครจะเข้าวินก่อนกัน แต่สภาพของการติดตามการหาเสียง ชิงชัยของฝ่าย บวกกับฝ่ายเชียร์ จะมองเป็นอย่างอื่นคงยาก เพราะเหลือเพียง 4 วันเท่านั้น ที่จริงต้องบอกว่า 3 วัน เพราะเข้าวันเสาร์ที่ 3 พ.ย. แล้ว

จะสูสีมาก เพราะยิ่งทำโพลล์ยิ่งเห็นคนมะกันเทคะแนนกันแบบไม่ชัด รอมนีย์ตีตื้น ขณะที่ปธน.โอบามา มีลุ้นอีกหลายรัฐ

นักวิเคราะห์การเมืองมะกันบอกครั้งนี้สูสี พลิกไปพลิกมา มากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การแข่งขันยุคใหม่นี้ และแบ่งประชาชนอย่างมากที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น

ดิฉันรวบรวมดูแล้ว ฐานเสียงโอบามาอยู่ที่คนอายุต่ำกว่า 30 คนผิวสี คนเชื้อสายสเปน คนเอเชียนอเมริกัน ผู้มีแนวทางเสรีนิยม และแนวคิดกลางๆ และ ผู้หญิง

รอมนีย์ อยู่ที่คนผิวขาว อายุ 45-60ปี แนวคิดอนุรักษ์นิยม ชนชั้นกลาง

ตอนนี้สองฝ่ายกำลังเร่งทำคะแนนอย่างมากในรัฐที่จะขับเคี่ยวกันมากๆ โดยเฉพาะ Ohio, Pensylvania, Virginia และ Michigan

สุดสัปดาห์นี้ต่างฝ่ายคงจะเร่งทำคะแนนให้ได้มากที่สุด หวังให้ผู้ลงเสียงออกไปใช้สิทธิ์ให้มากที่สุด!


31.10.12

Campaign or not campaign?



6 วันสุดท้าย ก่อนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2012 ยังเกิดวิกฤตทางฝั่งตะวันออกของประเทศ เพราะผลกระทบจาก "มหาพายุแซนดี้"

ผู้สมัครหลักทั้งสองประกาศ "ชะลอ" แผนลงหาเสียงเลือกตั้ง

ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ประกาศบัญชาการต่อ ณ ทำเนียบไวท์เฮาส์ สั่งการอย่างใกล้ชิด และเมื่อสองวันก่อนพูดประโยคที่คงคัดมาอย่างดีแล้ว ตอนที่พูดกับนักข่าวในวันแถลงข่าวรับมือกับเฮอร์ริเคน แซนดี้ เมื่อ 29 ตุลาคม 2555

“I am not worried at this point about the impact on the election. I’m worried about the impact on families, and I’m worried about the impact on our first responders. I’m worried about the impact on our economy and on transportation,” Obama told reporters at a White House news conference soon after he held a situation room meeting on the hurricane preparedness."


"ผม่ไม่กังวลถึงผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ผมเป็นห่วงผลต่อครอบครัว ผมกังวลผลกระทบต่อคนที่ต้องเจอพายุ ผมกังวลผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการขนส่ง"


30 ตุลาคม ประธานาธิบดีโอบามา แถลงการณ์เรื่องขอให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมและทุกหน่วยงานต้องเร่งมือกันอย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยจาก Sandy 

http://cnn.com/video/#/video/bestoftv/2012/10/30/sotvo-oh-romney-sandy-food-drive.cnn

มิตต์ รอมนีย์ รอดูสถานการณ์อยู่ที่ Ohio รัฐที่แข่งกันอย่างดุเดือด และครั้งนี้คาดว่าจะเป็นรัฐตัดสินใครจะได้เป็นประธานาธิบดี รอมนีย์ไม่ได้โจมตีโอบามาหรือพูดหาเสียง แต่พูดในลักษณะเห็นใจผู้คนที่ต้องประสบความทุกข์ยากจากแซนดี้ และแปรการหาเสียงเป็นการบรรเทาทุกข์ 

แน่นอนทั้งสองฝ่ายกำลัง "หาเสียง" กันอยู่ เพียงแต่ไม่ได้บอกตรงๆเท่านั้น โดยเฉพาะประธานาธิบดีโอบามา คงจะทราบดีว่าครั้งนี้ความสามารถในการจัดการจะต้องพิสูจน์ออกมาให้เห็นชัดเจน และเดิมพันนี้อาจจะหมายถึงได้หรือไม่ได้เป็นประธานาธิบดีคนถัดไป ไม่แน่ Sandy อาจจะเข้ามาช่วยยกคะแนนให้ประธานาธิบดีอัฟริกัน-อเมริกัน ที่กำลังเจอแรงขับเคี่ยวสู่้กับรอมนีย์แบบหายใจรดต้นคอ 

รอมนีย์ก็คงจะรู้ดีว่าจะหาเสียงโจมตีโอบามาแบบตรงๆไม่ได้ เพราะบรรยากาศกำลังวิกฤต ต้องหันมาปลุกปลอบให้กำลังใจผู้ที่ประสบภัยแทน และทำหน้าที่เสมือนเป็น "คุณพ่อใจดี" ที่พร้อมจะส่งความปรารถนาดีไปยังผู้ประสบภัย 

ยังบอกไม่ได้ว่า Sandy จะส่งผลดีหรือลบกับฝ่ายไหน แต่ที่เห็นอยู่นี้ดิฉันว่าคือส่วนหนึ่งของการ "หาเสียง" แบบเนียนๆเป็นแน่แท้ //

9.9.12

กระบวนการสันติภาพปาตานีในบริบทของอาเซียน







รวบรวมภาพเวทีพูดคุยนานาชาติว่าด้วย "กระบวนการสันติภาพปาตานีในบริบทของอาเซียน" จัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่นานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 6-7 กันยายนค่ะ

งานนี้ดิฉันได้ลงไปตั้งวงพูดคุยสัมภาษณ์ เพื่อนำมาออก "ตอบโจทย์" คุยหลายๆว เพื่อระดมสมองหาทางออกให้กับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หัวข้อสำคัญของงานนี้คือการพูดคุยของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคประชาสังคม นักวิชาการ นักสันติวิธี นักรัฐศาสตร์  แนวทางสร้างบรรยากาศแห่งการพูดคุย เพื่อนำไปสู่กระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะแนวคิดเปิด "พื้นที่กลาง" เพื่อให้ "คนใน" ทำหน้าที่พูดคุยกัน ประสานกันโยงใยเป็นเครือข่าย ส่งเสียงกันว่าแนวทางที่ต้องการผลักดัน ต้องการให้เกิดสันติภาพเป็นอย่างไร

ปัญหาไฟใต้ ยืดเยื้อมาไม่ต่ำกว่า 9 ปีค่ะ ยังเป็นเรื่องที่คุกรุ่นอยู่มาก ผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 5,200 ราย เป็นที่น่าคิดว่าแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร

นักวิชาการในพื้นที่อย่าง อ.ศรีสมภพ จิตย์ภิรมศรี และ อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง ทำงานในพื้นที่ ลงไปคุยกับคนใน และ ในฐานะคนใน มากว่าปีแล้ว บอกว่าเข้าใจสิงที่ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมต้องการ ว่าการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ต้องมาจากความจริงใจของรัฐในการกระจายอำนาจ และบอกว่า ชื่อแห่งความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น "เขตปกครองตนเอง" "เขตปกครองพิเศษ"  หรือการกระจายอำนาจ ไม่สำคัญเท่ากับกระบวนการที่จะทำให้เกิดขึ้น ว่าต้องดึงทุกภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ผ่านกระบวนการพูดคุยโดยสันติ หรือ peace dialogue

เรื่องไฟใต้ นักวิชาการจากนานาประเทศเข้ามาทำงานกันหลายท่านนะคะ อย่าง ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส ผอ.องค์กรสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟ เป็นผู้ผลักดันแนวคิดสร้างพื้นที่กลาง และพูดคุยโดยคนใน เพื่่อขยายฐานการพูดคุยให้เข้าถึงมวลชนมากที่สุด ระดับสูงก็ต้องคุยกันไปอย่างต่อเนื่อง แต่ระดับคนใน ในพื้นที่กลางคือหัวใจสำคัญที่จะต้องหาทางดึงผู้คนเข้าสู่กระบวนการสันติภาพให้มากที่สุด

งานนี้มีอดีตนายกรัฐมนตรีมาร่วม 2 ท่าน คือท่าน ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกฯมาเลเซีย และ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี คุณอภิสิทธิ์ บอกว่าเข้าใจดีว่าผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว มีความหลากหลาย และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีผลจากความขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ เพราะฉะนั้นต้องหา "กลไก" ที่แตกต่างออกไป เพื่อให้อยู่ร่วมกันต่อไป และแนวทางการแก้ปัญหาต้องมาจากบทบาทางการเมือง ต้องอาศัยความความเป็นผู้นำทางการเมือง ความมุ่งมั่นทางการเมือง และ กระบวนการทางการเมือง

ดร.มหาเธร์ แห่งมาเลเซีย บอกว่าอาเซียนอยู่กับความขัดแย้งมาตลอด การถือกำเนิดของอาเซียนก็เพื่อบรรเทาความขัดแย้ง ความเห็นต่าง เพื่อให้เพือนบ้านอยู่ร่วมกันได้ ดร.มหาเธร์ ยกตัวอย่างความขัดแย้งในฐานะเพื่อนบ้านระหว่างไทยและมาเลเซีย เรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์นอกน่านน้ำอ่าวไทย ว่าแม้จะใช้เวลานาน แต่ที่สุดตกลงกันได้เรื่องแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน

เรื่่องระหว่างประเทศอาเซียน ขณะที่ยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายใน หรือ non-interference ถ้าฝ่ายไทยร้องขอมาเลเซียอาจจะเข้ามามีส่วนช่วยหาทางออกเรื่องภาคใต้ได้

เรื่องภาคใต้กำลังเป็นสถานการณ์ที่ขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ และย่อมจะเรื้อรังต่อไปนะคะ ถ้าไม่เริ่มก้าวแรกของความพยายามแก้ปัญหาอย่างจริงจัง อย่างน้อยภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเดินหน้าแล้ว กับกระบวนการสันติภาพ เพื่อทำความเข้าใจกับมวลชน ภาครัฐและหน่วยงานความมั่นคงคงต้องหาข้อมูลจริงจังมากขึ้น พูดคุยกับคนในมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน กระบวนการสันติภาพแม้จะต้องใช้เวลาหลายปี แต่ควรจะได้เริ่มต้น แม้เส้นทางอาจจะไม่ราบรื่นก็ตาม

หมายเหตุ ภาพเดินกับดร.มหาเธร์ บันทึกโดย @idongphoto 

17.6.12

Kim Aris ให้กำลังใจแม่ ตอนกล่าวสุนทรพจน์

ออง ซาน ซูจี หลังกล่าวสุนทรพจน์จบ ผู้ร่วมงานยืนปรบมือให้นานหลายนาที

คิม อริส ลูกชายคนเล็กร่วมให้กำลังใจแม่ หลับตาฟังสุนทรพจน์

ออง ซาน ซูจี หลังกล่าวสุนทรพจน์จบ ได้รับการปรบมืออย่างกึกก้อง "standing ovation"

Part of Aung San Suu Kyi's speech mentions sufferings and this is what she shares with us  
"I was particularly intrigued by the last two kinds of suffering: to be parted from those one loves and to be forced to live in propinquity with those one does not love."

ดิฉันประสบกับความทุกข์ยากในสองเรื่อง คือต้องพลัดพรากจากผู้เป็นที่รัก และต้องถูกบังคับให้อยู่ในสภาพแวดล้อมกับคนที่ไม่ได้รัก


Aung San Suu Kyi's Acceptance Speech for Nobel Peace Prize, 16 June 2012


Watch this historic speech by Aung San Suu Kyi in receiving the Nobel Peace Prize in Oslo Norway on 16 June 2012.

The Acceptance speech has moved the audience, many could not hold their tears while listening. The meaning must be from her real presence in the hall after 21 years.


20.5.12

ประธานาธิบดี โจเซ่ รามอส-ฮอร์ต้า ของติมอร์ เลสเต้ ตอบโจทย์ ครบรอบ 10 ปี ได้รับเอกราช


President Jose-Ramos Horta talks to Nattha Komolvadhin, ThaiPBS in "Tob Jote"



โอกาสครบรอบ 10 ปี ที่ประเทศน้องใหม่อย่างติมอร์ตะวันออก หรือ ติมอร์ เลสเต้ ได้รับเอกราชมาครบ 1 ทศวรรษ (ได้รับเอกราชเมื่อ 20 พฤษภาคม 2002) ดิฉันได้นั้่งคุยกับท่านประธานาธิบดีโจเซ่ รามอส-ฮอร์ต้า ผู้ทำงานต่อสู้อยู่ในเวทีระดับนานาชาติ เพื่อให้ติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราช ท่านเดินสายพูดคุยในเวทีสหประชาชาติอย่างหนัก ในช่วงปี 1975-1999 ที่อินโดนีเซียเข้าไปยึดครองติมอร์ตะวันออก

รามอส ฮอร์ต้า ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีปี 2006 ถัดมาปี 2007 ได้เป็นประธานาธิบดีของติมอร์เลสเต้ ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพในปี 1996

เมื่อถึงวันที่ต้องส่งมอบตำแหน่งประธานาธิบดี ดิฉันเลยขอให้ท่านย้อนดูอดีตการต่อสู้ และมองไปข้างหน้าถึงอนาคตของติมอร์-เลสเต้ และสิ่งที่อยากให้คนรุ่นใหม่จดจำจากการต่อสู้อันยาวนานเพื่อเอกราชของประเทศ

รามอส ฮอร์ต้า ย้ำแล้วย้ำอีกว่าคนรุ่นใหม่ต้องเรียนหนังสือ ศึกษาหาความรู้ เพื่อสร้างชาติ จะออกไปประท้วงตามท้องถนนมากๆจะไม่เกิดประโยชน์ต้อง เรียน เรียน เรียน เท่านั้น

ตอบโจทย์ ออกอากาศแล้วทาง ThaiPBS วันที่ 18 พฤษภาคม 2555 (18 May 2012)
http://www.youtube.com/watch?v=57mPHEwrcp4


9.1.12

Interview Anwar Ibrahim, opposition leader of Malaysia



วันนี้ 9 ม.ค. 2555 ศาลสูงของมาเลเซียตัดสินว่าอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรค KPR อดีตรองนายกรัฐมนตรีและว่าที่นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ไม่มีความผิดข้อหามีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชาย หรือ sodomy สำหรับอันวาร์ และผู้คนที่สนับสนุนเขาต่างประหลาดใจกับคำตัดสิน แต่น่าจะทำให้เขาโล่งอก และเดินหน้าต่อทางการเมือง เข้าสู่การเลือกตั้งในมาเลเซีย

วันที่ 2 เมษายน 2552 ตอบโจทย์ เคยสัมภาษณ์อันวาร์ อิบราฮิม ตอนที่มาเมืองไทย ตอนนั้นเขาถูกตั้งข้อหา sodomy ครั้งที่สอง หลังจากเคยต้องถูกจำคุกเพราะข้อหานี้นานถึง 6 ปี คัดมาให้ดูคำตอบกันอีกทำ สำหรับนักการเมืองผู้พบกับจุดเลวร้ายที่สุดของชีวิตมาแล้ว จุดสูงสุดอาจจะกำลังมาถึงในไม่ช้า